วันพุธที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

เวนิส "Venez"

 

เมืองเวนิส

            เป็นเมืองที่มีคลองมากที่สุดในโลก ตั้งอยู่บนฝั่งทะเลเอเดรียติกเป็นเมืองท่าโบราณเวนิส ใช้คลองในการคมนาคมมากที่สุด มีอาคาร ร้านค้า บ้านเรืองตั้งอยู่ริมคลอง มีเรือบริการการเดินทางไปในที่ต่างๆของเมือง มีการบริการท่องเที่ยวชมทิวทัศน์ธรรมชาติของ 2 ฝั่งคลองโดยทางเรือ นับเป็นเมืองที่มีคลองมากกว่าถนนอีกเมืองหนึ่ง



Venezia Gondola
         เวนิส (Venezia) เมืองที่โรแมนติกติดอันดับต้นๆ ของโลก “เมืองที่ใช้เรือแทนรถ ใช้คลองแทนถนน” มีเกาะเล็กใหญ่กว่า 118 เกาะ  และมีสะพานเชื่อมมากกว่า 400 แห่ง เวนิสเป็นเมืองหลวงของแคว้นเวเนโต ประเทศอิตาลี เมืองเวนิสได้รับฉายาว่า ราชินีแห่งทะเลอาเดรียตริก(Queen of the Adriatic), เมืองแห่งสายน้ำ (City of Water), เมืองแห่งสะพาน (City of Bridges), และเมืองแห่งแสงสว่าง (The City of Light)

 

เมืองเวนิสถูกสร้างขึ้นจากการเชื่อมเกาะเล็กๆ จำนวนมากเข้าด้วยกันในบริเวณทะเลสาบเวนิเทีย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทะเลอาเดรียตริก ในภาคเหนือของประเทศอิตาลี

 

Gondola Venezia


 

เรือกอนโดลา อีกสัญลักษณ์หนึ่งของเวนิส
มีความเชื่อมาว่า ถ้าคู่รักได้จูบกัน เมื่อตอนระฆังปาไนล์ดังตอนเย็น  ขณะลอดข้ามสะพานถอนหายใจ
ถือว่าคนนั้นจะรักกันยืนนาน

สะพานถอนหายใจ  (Bridge of Sigh) สะพานนี้ใช้เดินข้ามเพื่อไปเข้าคุกที่อยู่อีกฝั่ง  วิวที่เห็นจากสะพานนี้จะเป็นวิวที่สวยงามของเมืองเวนิส  แสงสว่างที่เห็นจากช่องสะพาน นักโทษจะได้เห็นเป็นครั้งสุดท้ยก่อนเข้าคุก  และจะถอนหายใจด้วยเหตุผลนี้   เพราะรู้ตัวว่าจะไม่มีโอกาสเดินออกมาเห็นแสงสว่างอีกแล้ว

ตามประวัติมีอยู่คนเดียวที่ได้ออกมาเขาคือ…   คาสโนว่า   นักรักผู้ยิ่งใหญ่

เรือกอนโดลา (Gondola) เป็นเรือพายพื้นบ้านของชาวเวนิส ใช้เป็นพาหนะหลักของการเดินทางในเมืองเวนิส ประเทศอิตาลี มานานหลายร้อยปี และเป็นสัญลักษณ์ของเวนิสไปซะแล้ว  ถ้าได้ไปเวนิส ต้องไม่พลาดที่จะได้ไปล่องเรือกอนโดลา เพื่อชมเมืองเวนิส

 

 

Venezia Venezia

Venezia Venezia


ล่องเรือกอนโดลา ชมเมืองเวนิส

เวนิสมีสินค้าท้องถิ่นที่ขึ้นชื่อ คือ เครื่องแก้วมูราโน  หน้ากากเซรามิค และผ้าลูก ไม้ จากเกาะบูราโน เป็นอุตสาหกรรมครอบครัวที่มีประวัติยาวนานสืบทอดกันมา และกลายเป็น สัญลักษณ์ของเมืองเวนิส

 

Venezia Venezia

Venezia Veneziaศิลปะที่สวยงานในเมืองเวนิส

 

 

แนวคิดของลัทธิหลังสมัยใหม่ (Postmodern) ในส่วนที่เกี่ยวเนื่องกับศิลปะ

แนวคิดของลัทธิหลังสมัยใหม่ (Postmodern)      ในส่วนที่เกี่ยวเนื่องกับศิลปะ


แนวคิดของลัทธิหลังสมัยใหม่ (Postmodern) ในส่วนที่เกี่ยวเนื่องกับศิลปะ
เรียบเรียงจาก
“ศิลปะและปรัชญาในยุคโพสท์โมเดิร์น.”[ระบบออนไลน์].แหล่งที่มา http://www.midnightuniv.org/univmidnight/newpage12.htm
 

        คำว่าหลังสมัยใหม่ (Postmodern) เป็นแนวร่วมที่ครอบคลุมการปฏิเสธวิธีคิดของ ยุคสมัยใหม่ (Modern) คำนี้ปรากฏอยู่ในหลายสาขาวิชา ไม่ว่าจะเป็นวรรณกรรม สถาปัตยกรรม การออกแบบ และทัศนศิลป์ รวมไปถึงการพยายามอธิบายสังคมร่วมสมัยด้วยวิธีคิดแบบหลังสมัยใหม่ ด้วย คำว่าหลังสมัยใหม่ (Postmodern) มีต้นกำเนิดจากสถาปัตยกรรมของสหรัฐอเมริกา ในปี 1966 เมื่อสถาปนิกชาวอเมริกัน โรเบิร์ต เวนทูรี (Robert Venturi) ได้ตีพิมพ์หนังสือสัมมนาชื่อความสลับซับซ้อนและการคัดค้านกันเองในสถาปัตยกรรม ซึ่งภายหลังได้กลายเป็นสัตยาบันของแนวร่วมกลุ่มความคิดนี้ ด้วยเนื้อหาทางสถาปัตยกรรมและการออกแบบแล้วคำๆนี้ อาจนับย้อยไปตั้งแต่ปี 1949 เมื่อนิโคเลาส์ เปฟเนอร์ (Nicolaus Pevner) ได้นำคำนี้ออกมาใช้โจมตีนักเขียนคนอื่นๆในช่วงเวลานั้น แต่ ชาร์ลส์ เจงค์ส (Charles Jenks) สถาปนิกนักประวัติศาสตร์ชาวอังกฤษได้เขียนเกี่ยวกับหนังสือว่าด้วยสถาปัตยกรรมชื่อ “ภาษาสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ นิซึม 1977” ซึ่งทำให้แนวร่วมที่ไร้พรมแดนนี้มีชื่อเสียงและมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง หนังสือเล่มนี้ได้วิเคราะห์ภาษาที่ใช้อยู่ในงานสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ อาศัยการใช้เหตุผลตามวิถีทางของสมัยใหม่ เจงค์สได้เก็บรวบรวมภาพงานสถาปัตยกรรมนานาชาติ ทั้งหมดซึ่งเน้นส่วนที่เป็นเนื้อหาสาระ มากกว่าเน้นที่รูปทรง เน้นระบบสัญลักษณ์มากกว่าเหตุผล และเน้นความหมายหลายชั้นมากกว่าความหมายอย่างตื้นเขิน หนังสือเล่มนี้ทำให้เห็นความเป็นนานาชาติ
                 

       
เจงค์สบรรยายว่าลัทธิหลังสมัยใหม่ เป็นรูปแบบผสม มีสาระเป็นประเด็นทางประวัติศาสตร์ เป็นเรื่องของความทรงจำ เนื้อหาในท้องถิ่น และการใช้อุปมา มีความกำกวม เพื่อเข้าใจวัฒนธรรมของมนุษย์ได้อย่างกว้างขวางขึ้น ยอมรับความแตกต่าง หลายหลาย และไร้ระเบียบ การจะเข้าในลัทธิหลังสมัยใหม่ นั้นไม่ใช่เรื่องที่จะทำได้ง่ายๆ เพราะตัวปรัชญาเองมีความกำกวมไม่มีการตัดสินถูกผิด ดังนั้นวิธีการที่ดีที่สุดคือการทำความเข้าใน ลัทธิหลังสมัยใหม่ คือความต้องเข้าใจยุคสมัยใหม่ อย่างถ่องแท้เสียก่อน


         ในทางศิลปะประเด็นสำคัญของศิลปะในยุคสมัยใหม่คือการเน้นในเรื่องของความเป็นต้นฉบับ (Originality) ซึ่งหมายความว่า ให้ความสำคัญเกี่ยวกับ"ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ที่เป็นของตนเองและไม่เหมือนใคร ประเด็นต่อมา ศิลปะในยุคสมัยใหม่ จะเน้นและให้ความสำคัญในผลงานศิลปะที่สร้างสรรค์ขึ้นมาแล้วต้องมีเอกภาพ (Unity) งานศิลปะชิ้นใดก็ตามที่ทำออกมาแล้ว ขาดเอกภาพ ก็จะไม่ถือว่าเป็นผลงานศิลปะที่ดี ศิลปะในยุคสมัยใหม่ ได้มีการแบ่งแยกระหว่างศิลปะกระแสหลักและศิลปะกระแสรองออกจากกัน งานศิลปะซึ่งเป็นที่ยอมรับกันที่อยู่ในพิพิธภัณฑ์ทางศิลปะ หรือหอศิลป์ต่างๆ รวมทั้งผลงานศิลปะที่นักศึกษาทำกันขึ้นมา โดยร่ำเรียนกันมาจากสถาบันสอนศิลปะ เราจะจัดให้ศิลปะเหล่านี้อยู่ในกลุ่มของศิลปะกระแสหลัก (High Arts) ขณะเดียวกัน เราก็กันเอางานศิลปะที่ไม่ได้ผลิตขึ้นมาจากสถาบัน หรือผู้เชี่ยวชาญทางศิลปะ รวมทั้งงานที่ไม่ได้ผลิตขึ้นมาจากกลุ่มผู้ทำงานในกระแสหลักว่าศิลปะกระแสรอง (Low Arts) อย่างเช่น ศิลปะนอกกระแสต่างๆ ศิลปะของชาวบ้าน ต่อมา ศิลปะในยุคสมัยใหม่ เน้นรูปแบบศิลปะที่เป็นนานาชาติ (International) หมายความว่า ผลงานศิลปะและรวมไปถึงสถาปัตยกรรม จะต้องมีรูปแบบที่มีความเป็นนานาชาติ และเป็นสากล ศิลปินไม่ว่าชาติใด อยู่ในเขตภูมิศาสตร์ไหน หรือวัฒนธรมจะแตกต่างกันอย่างไรก็ตาม เช่น เอเชีย ยุโรป อเมริกา แอฟริกา รูปแบบที่ผลิตออกมาจะต้องมีลักษณะเป็น นานาชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง งานทางด้านสถาปัตยกรรมจะมีแนวโน้มในลักษณะนี้มากตามเมืองใหญ่ๆของโลก


         จะต้องเข้าใจเสียก่อนว่า ศิลปะในยุคสมัยใหม่ มีลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวมันเองอย่างไร ก่อนที่จะไปทำความเข้าใจศิลปะในยุคหลังสมัยใหม่ ศิลปะในยุคหลังสมัยใหม่ ปฏิเสธสิ่งที่กล่าวมาข้างต้นทั้งหมด เริ่มตั้งแต่ ศิลปะในยุคสมัยใหม่ บอกว่าจะต้องมีความเป็นต้นฉบับ จะลอกของคนอื่นมาไม่ได้ แต่ยุคหลังสมัยใหม่ไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงเรื่องของความเป็นต้นฉบับ
อันที่สอง ศิลปะในยุคสมัยใหม่ บอกว่าจะต้องมีเอกภาพในงานศิลปะ ส่วนยุคหลังสมัยใหม่ บอกว่าไม่จำเป็น ผลงานศิลปะสร้างขึ้นมาโดยไม่ต้องคำนึงถึงหลักเอกภาพ สามารถผสมผสานได้อย่างเต็มที่ หรือเราเรียกกันว่าลูกผสมหรือพันธุ์ผสม (Hybrid) ตัวอย่างเช่น การผสมกันทางด้านสถาปัตยกรรมในอาคารหลังหนึ่ง หรือผลงานทัศนศิลป์สมัยหลังนี้ มีลักษณะที่เป็นการข้ามทั้งทางด้านรูปแบบและเนื้อหา เช่น นำเอาผลงานศิลปะที่มีรูปแบบเหมือนจริงแบบกรีก หรือเรอเนสซองค์ มาผสมผสานกับมิคกี้เมาส์ก็ได้ และไม่ต้องไปสนใจเรื่องของหลักการของศิลปะในยุคสมัยใหม่ ซึ่งไม่ยินยอมให้ทำอย่างนั้น


       เรื่องของศิลปะกระแสหลักและศิลปะกระแสรอง (High Arts, Low Arts) ในยุคหลังสมัยใหม่ (postmodern) ก็ไม่สนใจเช่นเดียวกัน ถือว่าไม่เกี่ยว. ศิลปะในยุคหลังสมัยใหม่ ไม่มีการแบ่งแยก ศิลปะข้างถนนก็เป็นศิลปะที่มีคุณค่าได้ หรืองานศิลป์ที่ซื้อมาจากร้านขายของ ก็เป็นศิลปะได้เช่นเดียวกัน ศิลปะในยุคนี้ ไม่จำเป็นต้องอยู่ในพิพิธภัณฑ์เพียงอย่างเดียว ไม่ต้องให้สถาบันเกี่ยวกับศิลปะยอมรับ รูปแบบไม่จำเป็นต้องเป็นสากล จะมีลักษณะท้องถิ่นหรือพื้นบ้านก็ได้
หัวใจสำคัญของยุคสมัยใหม่ ก็คือ การยอมรับความเป็นผู้เชี่ยวชาญพิเศษ (Specialist) ยุคหลังสมัยใหม่ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญ แต่พวก หลังสมัยใหม่ต่อต้านความเป็นผู้เชี่ยวชาญนอกจากนี้ในยุคสมัยใหม่ ยังเน้นในเรื่องคนตะวันตก เป็นผู้นำของโลก หรือเป็นเอตทัคคะในทุกศาสตร์ เป็นคนที่ประกาศวาทกรรมที่จริงแท้ที่สุดอันปฏิเสธไม่ได้ พวกหลังสมัยใหม่ ปฏิเสธเรื่องนี้และกล่าวว่าชนกลุ่มน้อยที่เป็นรองในสังคมหรือคนชายขอบหรือใครก็แล้วแต่ที่เคยด้อยกว่าในยุคสมัยใหม่ สามารถที่จะประกาศวาทกรรมของตนได้เช่นเดียวกัน สามารถที่จะสร้างวาทกรรม ของตนเองได้เช่นเดียวกันเหมือนกับคนผิวขาวหรือคนตะวันตก จะเห็นได้ว่าในยุคหลังสมัยใหม่ เป็นการตีกลับยุคสมัยใหม่ อย่างชัดเจน


        ในยุคสมัยใหม่ เป็นยุคซึ่งได้สืบทอดความคิดเรื่องผู้ชายเป็นใหญ่กว่าผู้หญิงมาตามลำดับ แต่ในยุคหลังสมัยใหม่ ไม่เห็นด้วยกับความคิดนี้ บอกว่าผู้หญิงก็มีสิทธิของพวกเธอเท่าเทียมกับผู้ชาย ผู้หญิงก็มีวาทกรรมของตนเอง ผู้หญิงไม่จำเป็นต้องอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ที่ผู้ชายเป็นฝ่ายกำหนด โดยเฉพาะโครงสร้างทางสังคม ความสัมพันธ์เชิงอำนาจ ระเบียบกฎเกณฑ์ต่างๆที่ออกมา ผู้หญิงเป็นเบี้ยล่างมาโดยตลอด เช่น การใช้นามสกุลของผู้ชายหลังแต่งงาน กฎหมายเกี่ยวกับเรื่องชู้สาวรวมไปถึงเรื่องของการจัดการด้านทรัพย์สิน และกระทั่งความไม่เท่าเทียมในเรื่องของการประกอบอาชีพและค่าแรง จะเห็นถึงความไม่เสมอภาคกันเหล่านี้ได้อย่างชัดเจน ในยุคสมัยใหม่ ยังให้ความสำคัญในเรื่องของความเจริญ และการพัฒนาในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ยุคหลังสมัยใหม่ บอกว่าไม่จำเป็น เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือที่ทำลายธรรมชาติ ทั้งความเป็นมนุษย์และสิ่งแวดล้อม ฉะนั้น การรณรงค์ต่างๆซึ่งเกิดขึ้นในช่วงหลังสมัยใหม่นี้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของนิเวศวิทยา เรื่องสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ เรื่องของสิทธิสตรี ล้วนเป็นความคิดที่ต่อต้านยุคสมัยใหม่


       แนวคิดของฟูโกที่พูดถึงเรื่องของ "ความจริง" ว่าอะไรคือ "ความจริง" ซึ่งทำให้ทุกๆคนเชื่อตาม ฟูโกบอกว่า "ความจริง" เหล่านั้นเป็นเพียงความจริงที่สร้างขึ้นมาโดยคนที่มีอำนาจ (Constructing Truth) เท่านั้น ไม่ใช่เป็นความจริงที่ต้องถือว่าเป็นสัจธรรม เปลี่ยนแปลงไม่ได้ อันนี้เป็นประเด็นที่สำคัญอีกอันหนึ่งที่นักสังคมวิทยา นักปรัชญา นักมานุษยวิทยาให้ความสนใจกันมาก "ความจริง" คุณสามารถที่จะสร้างขึ้นมาได้ โดยการประกาศวาทกรรมของคุณเอง ให้อำนาจกับตัวเอง โดยไม่จำเป็นต้องไปยอมรับวาทกรรมของคนอื่นหรือของคนที่มีอำนาจ


         คำว่า "วาทกรรม" เพื่อทำความเข้าใจร่วมกันคือ หมายถึง "ความรู้ ความคิด ความเห็น ที่มีอำนาจในการอธิบายให้คนอื่นเชื่อตาม" เช่น ปัจจุบัน เราเชื่อความรู้ ความคิด ของวิทยาศาสตร์แบบตะวันตกมากกว่าอย่างอื่น อะไรก็ตามม ที่ไม่ตรงกับหลักของวิทยาศาสตร์ หลักการอันนั้นจะถูกปฏิเสธ ด้วยเหตุนี้ วิทยาศาสตร์จึงเป็นเอกอุอัครมหาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ซึ่งไม่อาจปฏิเสธได้ แต่ในยุคหลังสมัยใหม่ ไม่สนใจ ฉะนั้น วิทยาศาสตร์จึงเป็นวาทกรรมหลักในยุคสมัยใหม่ ซึ่งคุณไม่สามารถที่จะปฏิเสธมันได้ แต่บรรดานักคิดหลังสมัยใหม่ถือว่า อันนี้เป็นเพียงความจริงที่สร้างขึ้นมาโดยคนที่มีอำนาจ อันหนึ่งเท่านั้น


         ชาร์ลส์ เจงค์ส สถาปนิกกล่าวว่า คำว่า “หลังสมัยใหม่” มันเริ่มต้นขึ้นมาเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม ปี 1972 เวลา 15.32 นาที ที่เขาระบุลงไปอย่างนี้ก็เพราะ มันเป็นเวลาที่มีการระเบิดตึกสูงหลังหนึ่งในเซนต์หลุยส์ สหรัฐอเมริกา ตึกสูงดังกล่าวได้ถูกสร้างขึ้นมา โดยใช้หลักการของ Bauhaus (เบาเฮาส์) หรือหลักของสมัยใหม่โดยสถาปนิกในกลุ่มนี้ วัตถุประสงค์ของการสร้างตึกสูงหลังนี้ก็เพื่อจะให้มันมีประโยชน์ใช้สอยสูงสุด แต่สำหรับการใช้ชีวิตในตึกหลังนี้ มันค่อนข้างแย่ และคนที่อยู่ในตึกสูงหลังนั้นก็ทนอยู่ต่อไปไม่ไหว ดังนั้นจึงมีการระเบิดตึกหลังนี้ลง ซึ่งเขาถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของยุค หลังสมัยใหม่ สำหรับสถาปัตยกรรมในยุคหลังสมัยใหม่ นั้น ลักษณะเด่นก็คือ มีการประดับตกแต่งมากขึ้น แต่สำหรับในยุคสมัยใหม่ ทุกอย่างต้องเป็นเรื่องของประโยชน์ใช้สอย ทุกอย่างต้องมีความลงตัวพอดี แต่ในยุคหลังสมัยใหม่ คุณสามารถที่จะตกแต่งมันได้ และมีลวดลายประดับมากขึ้น ซึ่งอันนี้เป็นลักษณะอันหนึ่งของหลังสมัยใหม่ ในเชิงประวัติศาสตร์ศิลปะ หลายคนบอกว่า


         "หลังสมัยใหม่" มันเริ่มต้นขึ้นมาราวปี 1980 หลังจากยุคของศิลปะรูปแบบมินิมอล อาร์ต (Minimal Art) กับยุคของ(Conceptual Art) เริ่มจะมีบทบาทน้อยลง และเริ่มจะมีศิลปินพวกหนึ่งซึ่งมาจากอิตาลี ตั้งต้นที่จะเขียนรูปสีน้ำมัน ซึ่งเขียนเป็นภาพคนซึ่งออกไปทางรูปแบบเอ็กเพรสชั่นนิสม์ (Expressionist) อันนี้เป็นการปฏิเสธการลดเรื่องของรูปทรงในงานศิลปะลงมาจนกระทั่งแทบไม่มีอะไรเหลือในงานแบบมินิมอล อาร์ต (Minimal Art) และ (Conceptual Art) ในยุคหลังสมัยใหม่ เริ่มที่จะมีสีสันมากขึ้น มีการใช้สีน้ำมันล้วนๆในงานจิตรกรรม หลังสมัยใหม่ มีลักษณะในเชิงวัฒนธรรม ศิลปะในยุคสมัยใหม่ มันจบลงตรงที่มินิมอล อาร์ตและคอนเซปช่วล อาร์ต ซึ่งศิลปินทำอะไรต่อไปอีกไม่ได้ เช่นเดียวกับในเชิงความคิด ในเชิงวัฒนธรรม มีกระแสของผู้คนมากพอสมควรที่เห็นว่า ความคิดในอุดมคติเป็นสิ่งที่พึ่งพาไม่ได้อีกแล้ว มีคนซึ่งผิดหวังในอุดมคติต่างๆ มีความไม่แน่นอนเกี่ยวกับเรื่องของศีลธรรมเหมือนกัน. ถ้าเราไม่มีความเชื่อที่แน่นอน เราจะรู้ได้อย่างไรว่า ดีคืออะไร แล้วไม่ดีคืออะไร ในวัฒนธรรมหนึ่งสีขาวก็เป็นสีดำ สีดำก็เป็นสีขาว หรือดีคือเลว เลวคือดี อะไรเป็นตัวกำหนดว่าอะไรถูกอะไรผิด ศีลธรรม จริยธรรม มันจะตั้งอยู่บนฐานของอะไร? ซึ่งอันนี้เป็นคำถาม ไม่ได้บอกว่าเป็นสิ่งที่ดีหรือไม่ดี
                                 

       นอกจากนี้ โลกในยุคสมัยใหม่ พยายามที่จะ"สร้างโลกขึ้นมาให้มีความสมบูรณ์แบบ" ให้ทุกคนมีความสุข ให้เป็นโลกที่เต็มอิ่ม แต่พวกหลังสมัยใหม่ สงสัยว่า โลกแบบนี้มันสร้างขึ้นมาเป็นจริงได้หรือไม่ มันเป็นไปได้หรือเปล่าที่เราจะสร้างโลกขึ้นมาให้มีความสมบูรณ์แบบโดยให้ทุกคนมีความสุข อันนี้เป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน? หลายคนในยุคสมัยใหม่มีความมั่นใจในเรื่องของความเจริญ ในความก้าวหน้า ในการเปลี่ยนแปลงสิ่งใหม่ๆ ในการมีความคิดริเริ่ม แต่ก็มีศิลปินหลายคนซึ่งเริ่มสงสัยว่า เราจะทำอะไรต่อ เพราะว่าทุกสิ่งทุกอย่างเคยถูกทำมาแล้ว เราจะทำอะไรต่อไปศิลปินเริ่มที่จะเขียนภาพคนขึ้นมาใหม่ ศิลปินบางคนถึงกับบอกออกมาอย่างชัดเจนว่า "หวังว่าจะไม่มีอะไรใหม่ๆอยู่ในงานของผม ทุกสิ่งทุกอย่างที่สร้างขึ้นมา มันมาจากสิ่งเก่าๆ มันเป็นไปไม่ได้ที่เราจะสร้างสิ่งใหม่ๆขึ้นมาอีกแล้ว" ไม่มีอะไรที่จะมาควบคุมหรือมาบอกว่า อะไรเป็นสิ่งที่ดี หรืออะไรเป็นสิ่งที่ไม่ดี วัฒนธรรมของหลังสมัยใหม่ เห็นว่า การพัฒนาสามารถที่จะทำลายวัฒนธรรมได้ ไม่มีแก่นสารอีกแล้ว ไม่มีสิ่งที่ยึดเหนี่ยวอีกแล้ว ทุกสิ่งทุกอย่างไม่มีความแน่นอน โดยเฉพาะในวัฒนธรรมตะวันตก มีอะไรที่ค่อนข้างน่าสงสัยเกี่ยวกับแก่นสารทางวัฒนธรรมของเขา โดยเฉพาะเรื่องของ "การพัฒนา" หมายถึงความเจริญ ที่เราคิดว่าชาวตะวันตกมีความเจริญ แต่ในความเป็นจริง มันมีคนเพียงแค่ 20-30% เท่านั้นที่ได้รับผลประโยชน์จริงๆจากการพัฒนาหรือความเจริญที่พูดถึงนี้เราจะเห็นว่า ครึ่งหนึ่งของพลเมืองโลกยังอยู่ในสภาพที่ย่ำแย่มากและที่น่าแปลกใจก็คือว่า


        มีนักเขียนคนหนึ่ง ที่เขียนหนังสือเรื่อง วิธีหาอาหารของคนจรจัด หรือคนเร่ร่อน ซึ่งไปหาอาหารในถังขยะในหนังสือเล่มนั้นได้ให้ความรู้เกี่ยวกับว่า คุณจะไปหาอาหารเหล่านั้นได้จากที่ไหน ตรงมุมไหนของเมือง ซึ่งคุณจะได้พบอาหารที่ดีที่สุด มีเศษอาหารเหลือมากที่สุด แล้วควรจะกินอาหารแบบไหนซึ่งไม่ได้เป็นผลเสียต่อสุขภาพมากจนเกินไป
หลังจากหนังสือเล่มนี้ออกมา มีคนค่อนข้างต่อต้านมาก แต่นี้เป็นข้อเท็จจริง ที่บอกกับเราว่า มีคนเร่ร่อน มีคนจรจัด มีคนยากจนอยู่ตามเมืองใหญ่ๆจำนวนมาก ซึ่งอันนี้เป็นข้อเท็จจริงที่ปฏิเสธไม่ได้
แสดงว่าความเจริญ ที่เราถือว่าเป็นสิ่งที่ดีซึ่งจะนำผลประโยชน์มาให้กับพลเมือง มันเป็นสิ่งที่ล้มเหลว เป็นสิ่งที่ใช้งานไม่ได้ การพัฒนาที่เราได้เห็นมานี้ มักจะตั้งอยู่บนพื้นฐานของเรื่องเล่า ซึ่งอยากจะบอกว่าเป็นโครงสร้างเชิงเอกภาพ อย่างเช่น เชื่อกันว่า ถ้าทุกคนนับถือศาสนาคริสต์ ทุกคนก็จะดีขึ้น ทุกคนจะมีความสุข หรือเป็นเรื่องของมนุษยนิยมก็ได้ หรือเป็นเรื่องของเหตุผลนิยม หรือเป็นเรื่องของสังคมนิยม ซึ่งอันนี้ก็เป็นโครงสร้าง หรือแนวความคิดที่เป็นอุดมคติ ซึ่งพยายามสร้างเอกภาพให้กับทุกคนให้เชื่ออย่างนั้น แล้วจะมีความสุข สังคมจะมีความสมบูรณ์แบบ แต่ความเป็นจริงที่ปรากฏ จะเห็นว่าระบบแบบนี้มันล้มเหลว และใช้การไม่ได้ หลายคนไม่ได้นับถือศาสนาคริสต์อีกแล้ว ความคิดในเชิงการเมืองนั้น ที่อันตรายที่สุดก็คือ ความปรารถนาที่จะทำให้ทุกคนมีความสมบูรณ์แบบ มีความเต็มอิ่ม และมีความเป็นสุข เมื่อเราพยายามสร้างสวรรค์บนโลกนี้ ผลที่ตามมาก็มักจะเป็นนรก ถ้าเราพยายามให้ทุกคนเชื่อตามที่เราเชื่อ ทุกคนต้องมีความเชื่ออันหนึ่งอันเดียวกัน ดังนั้นมันจึงทำให้เกิดนรกขึ้นมา มีสงครามเกิดขึ้น มีคนที่ไม่เห็นด้วย มีการต่อต้าน มีความขัดแย้ง ซึ่งถ้าเราไม่ยอมรับในความแตกต่างกันของคนอื่น ก็จะเกิดปัญหาขึ้นมามากมาย ในเรื่องของพิพิธภัณฑ์ โลกของศิลปะ สถาบันเกี่ยวกับศิลปะ รวมทั้งสื่อต่างๆ มันกลายเป็นเครื่องมือที่ตามกระแสของค่านิยมกันมาก อันนี้ทำให้ผลงานศิลปะที่เราเห็นในแกลลอรี่ (Gallery) หรือพิพิธภัณฑ์(Museum) โดยมากจะเป็นงานที่สร้างความอึกทึก ตื่นเต้น แต่ไม่ค่อยมีอะไรที่ลึกซึ้ง เพราะว่าภัณฑารักษ์และนักจัดนิทรรศการมักจะเน้นในการดึงคนจำนวนมากมาดูงาน ดังนั้นผลงานศิลปะมันจะต้องมีความน่าตื่นเต้น น่าประทับใจซึ่งตรงกันข้ามกับศิลปะสมัยใหม่ที่เน้นเรื่องความเงียบ ความสงบ เวลาดูก็ต้องพิจารณากันนานๆ
                      
       ในโลกของศิลปะมีการเน้นเกี่ยวกับทฤษฎีค่อนข้างมากในยุคหลังสมัยใหม่ ยกตัวอย่างเช่น การดูงานศิลปะในปัจจุบัน ได้เปลี่ยนแปลงไปสู่การอ่านศิลปะ เช่น เราสามารถอ่านศิลปะได้ตามหน้านิตยสาร หรือสูจิบัตรต่างๆ และมักจะเป็นเรื่องของทฤษฎีซึ่งค่อนข้างจะอ่านยาก ถ้าเราอ่านเกี่ยวกับศิลปะมันพอแล้ว ไม่จำเป็นต้องไปดูผลงานศิลปะอีกแล้ว ทั้งหมดนี้ก็คือแนวโน้มที่เราจะเห็นในโลกของศิลปะปัจจุบันนี้ค่อนข้างมาก

วันอังคารที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ลักษณะรากฐานของพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ก่อนการขุดแต่ง อ้างอิงบทความโดย อ.พิทยะ ศรีวัฒนสาร

ลักษณะรากฐานของพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ก่อนการขุดแต่ง
สภาพแวดล้อม
            พระที่นั่งสุทธาสวรรย์เป็นรากฐานโบราณสถานซึ่งตั้งอยู่ทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ ภายในพระราชวังนารายณ์ราชนิเวศน์ ลักษณะของรากฐานพระที่นั่งสุทธาสวรรย์เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ถูกวางตาแหน่งอยู่ตรงกึ่งกลางของเขตพระราชฐานส่วนนี้ โดยรากฐานพระที่นั่งทางเหนืออยู่ห่างจากกำแพงทางด้านใต้ของพระที่นั่งดุสิตสวรรยธัญญมหาปราสาท ประมาณ 30เมตร รากฐานทางด้านตะวันออกอยู่ห่างจากแนวกำแพงพระราชฐานชั้นที่สอง ประมาณ 60 เมตร รากฐานทางด้านใต้อยู่ห่างจากแนวกำแพงทางใต้ประมาณ 25 เมตร ส่วนรากฐานพระที่นั่งทางด้านตะวันตกนั้นปรากฏแนวกำแพงก่ออิฐฉาบปูน สูง 15 เมตรตัดเนื้อที่บางส่วนของระเบียงด้านตะวันตกของพระที่นั่งออกไป ดังปรากฏหลักฐานในแผนผังพระนารายณ์ราชนิเวศน์ เมืองลพบุรี จากการสำรวจของพระยาโบราณราชธานินทร์
            แนวกำแพงซึ่งตัดเนื้อที่บางส่วนของระเบียงด้านตะวันตกของพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ออกไปนั้น อาจถูกสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 ภายหลังการขุดแต่งโบราณสถานแห่งนี้เสร็จสิ้นลงไป ได้ปรากฏร่องรอยบางอย่างที่บ่งชี้ว่ากำแพงด้งกล่าวอาจวางรากฐานอยู่แนวกำแพงแก้วเดิมด้านตะวันตกของพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ก็ได้ ซึ่งจะได้กล่าวถึงต่อไปข้างหน้า และเข้าใจว่าแนวกำแพงแก้วเดิมของพระที่นั่งสุทธาสวรรย์อาจจะอยู่ห่างจากกำแพงพระราชฐานด้านตะวันตกประมาณ 60เมตร เช่นเดียวกับระยะห่างจากแนวกำแพงด้านตะวันออก
            พื้นผิวดินภายในพระราชฐานอันเป็นที่ตั้งของพระที่นั่งสุทธาสวรรย์นั้น ถูกปรับให้อยู่ต่ำกว่าพื้นที่ส่วนอื่นของพระราชวังประมาณ 2 เมตร ทั้งนี้วิศวกรคงจะคำนึงถึงประโยชน์เกี่ยวกับแรงดังในการทดน้ำจ่ายน้ำเพื่อใช้อุปโภคสำหรับพระที่นั่งสุทธาสวรรย์เป็นสำคัญ
 แผนผังทั้งหมด
แผนผังพระที่นั่งสุทธาสวรรย์

 
สภาพปัจจุบัน
            สภาพปัจจุบันของพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ถูกจัดแต่งเป็นสวนขนาดใหญ่มีสภาพร่มรื่น มีต้นไม้ใหญ่ไม่กี่ชนิด ได้แก่ ต้นก้ามปู ต้นปีบ และพิกุล นอกนั้นเป็นต้นผลไม้ อาทิ มะม่วงขนาดเล็ก ต้นส้มโอและไม้ดอกของไทย อาทิ ราชาวดี เป็นต้น
            ภายในสวนด้านหลังแนวกำแพงด้านตะวันตกประกอบด้วยต้นมะพร้าวจำนวนหนึ่ง ต้นพุทรา ต้นมะม่วงขนาดย่อม กอไผ่ และพื้นสนามหญ้า ซึ่งได้รับการดูแลรักษาอย่างค่อนข้างดี
            รากฐานของพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ก่อนการขุดแต่งในปีงบประมาณ 2540 นั้น ถูกดินปกคลุมทับถมค่อยข้างเบาบางเนื่องจากเคยได้รับการขุดแต่งมาแล้วเมื่อประมาณ 20 ปีเศษที่ผ่านมา การขุดแต่งครั้งน้นดำเนินการแต่เพียงขุดลอกดินที่ทับถมรากฐานทางทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศใต้บางส่วนออกไปเท่านั้น ระดับการขุดลอกดินออกไปยังไม่ถึงพื้นลาน โดยรอบของพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ แต่กระนั้นก็ตามการดำเนินการดังกล่าวช่วยทำให้รากฐานบางส่วนของพระที่นั่งองค์นี้ปรากฏให้เห็นเด่นชัดพอสมควร
            จากการสำรวจพบว่าแผนผังโครงสร้างรากฐานของพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ ถูกออกแบบให้องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมทุกส่วนทุกด้านมีความลงตัวกันอย่างเหมาะสม เรียกว่า “Symmetrical designation system” กล่าวคือ หากออกแบบให้มีประตูและหน้าต่างทางด้านหน้าอย่างไร ทางด้านหลังก็จะทำประตูและหน้าต่างล้อตามไปด้วย ทางด้านข้างชักปีกอาคารและบันไดออกไปอย่างไร ด้านตรงกันข้ามก็จะถูกออกแบบให้มีองค์ประกอบแบบเดียวกันตามไปด้วยโดยไม่มีข้อยกเว้น เป็นต้น แนวความคิดที่มีในองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมของพระที่นั่งสุทธาสวรรย์อย่างลงตัวเช่นนี้ จะช่วยให้การวิเคราะห์รูปแบบโครงสร้างและแผนผังของพระที่นั่งองค์นี้มีเหตุผลน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น
            จากสภาพเท่าที่ปรากฏได้ชัดเจนว่า รากฐานพระที่นั่งสุทธาสวรรย์มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าบนชุดรากฐาน 2 ชุด กล่าวคือ ชุดฐานชั้นนอกประกอบด้วยแผนผังของกำแพงแก้ว กำแพงปีกท้องพระโรง ระเบียง ฐานน้ำพุ ปีกพระที่นั่งซ้าย-ขวา มุขบันได และเกย ส่วนชุดฐานชั้นในเป็นส่วนรองรับโครงสร้างผนังและเครื่องบนหลังคา อันน่าจะเป็นท้องพระโรงที่ประทับของสมเด็จพระนารายณ์ขณะแปรพระราชฐาน ณ เมืองลพบุรี
            ชุดฐานชั้นนอกและชุดฐานชั้นในของพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ต่างก็เป็นฐานปัทม์หน้ากระดานอกไก่มีบัวคว่ำบัวหงายเป็นองค์ประกอบโดยเริ่มต้นจากฐานเขียงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าลดชั้นขึ้นไปรองรับลวดบัวแล้วจึงเป็นบัวคว่ำ ก่อนจะขึ้นไปเป็นหน้ากระดานอกไก่และชั้นบัวหงายตามลำดับ เหนือชั้นหงายขึ้นไปจึงเป็นพื้นระเบียงและพื้นท้องพระโรงที่ประทับของพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ เป็นที่น่าสังเกตว่าที่ชั้นบัวคว่ำของฐานแต่ละด้านจะปรากฏท่อน้ำดินเผาสำหรับระบายน้ำออกจากระเบียงพระที่นั่งเป็นระยะๆ
            ชุดฐานปัทม์หน้ากระดานอกไก่นี้เป็นองค์ประกอบเด่นทางสถาปัตกรรมแบบไทยประเพณีในสมัยกรุงศรีอยุธยา แต่สำหรับพระที่นั่งสุทธาสวรรย์นั้นชุดฐานปัทม์หน้ากระดานอกไก่จะเพิ่มเส้นลวดที่โคนกลับบัวคว่ำบัวหงายเข้าไปอย่างละเส้น ทำให้หน้ากระดานอกไก่มีความคมชัดมากยิ่งขึ้น
            องค์ประกอบของกำแพงแก้วล้อมรอบระเบียงพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ จะก่อตัวขึ้นจากฐานเขียงแล้วจึงเป็นบัวหงายก่อนจะเป็นผนังกำแพงแก้ว สูงประมาณ 100-120 เซนติเมตร และทับหลังกำแพงแก้วรูปบัวหงาย หน้ากระดานบัวคว่ำ สูงประมาณ 20 เซนติเมตร
            สำหรับกำแพงปีกท้องพระโรง ซึ่งเป็นกำแพงสูงประมาณ 2.50 เมตร ชักปีกออกมาจากมุมทิศตะวันตกเฉียงเหนือและมุมทิศตะวันตกเฉียงใต้ คั่นระเบียงด้านตะวันตกของพระที่นั่งให้พ้นจากสายตาของบุคคลภายนอก มีลักษณะทางสถาปัตยกรรมแบบเดียวกับกำแพงแก้วของพระที่นั่งองค์นี้
            เสาอาคารของพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ถูกออกแบบให้ฝากอยู่กับโครงสร้างของผนัง โดยมีลักษณะเป็นโครงอิฐฉาบปูนยื่นออกมาจากผนังอาคารเพียงเล็กน้อย ร่องรอยของช่องอิฐที่ผนังตามแนวเสาบ่งชี้ให้ทราบว่ามีการทำด้นทวยรองรับเครื่องบนหรือชั้นหลังคาด้วย องค์ประกอบดังกล่าวสังเกตได้จากปีกทางด้านใต้ ซึ่งก่อเป็นอาคารยื่นออกมา มีประตูและหน้าต่างเป็นช่องโค้งยอดแหลม ตามแบบสถาปัตยกรรมที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะเปอร์เซีย-โมกุล หรือที่เรียกว่า “Sarasenic Achitectural”
มิติทางสถาปัตยกรรม
            รากฐานระเบียงพระที่นั่งสุทธาสวรรย์
            ลักษณะเป็นรากฐานชั้นนอกส่วนนอกของพระที่นั่ง มีด้านแปยาวประมาณ 35 เมตร ด้านสกัดยาวประมาณ 27 เมตร ซึ่งอันที่จริงแล้วหากคำนวณจากแผนผังพระที่นั่งสุทธาวรรย์ของฝรั่งเศส(Plan du Palais de Louvo) และผังที่นั่งพระนารายณ์ราชนิเวศน์ เมืองลพบุรีแล้ว ด้านแปของพระที่นั่งสุทธาวรรย์อาจมีความยาวประมาณ 38 เมตรเลยทีเดียว
            มุขบันได
            ทางด้านตะวันออกของพระที่นั่งสุทธาวรรย์มีมุขกว้าง 1เมตร ยาว 11.20 เมตร ยื่นออกมาลักษณะคล้ายจะเป็นบันไดทางขึ้นสู่ระเบียงด้านตะวันออกของพระที่นั่ง โดยทำเป็นบันไดเบื้องซ้ายและเบื้องขวาที่มุมบางทิศเหนือและทิศใต้ของมุข และถ้าหากเชื่อมันในทฤษฎีเรื่องความลงตัวทางสถาปัตยกรรมดังกล่าวไปแล้วข้างต้น ก็อาจเป็นไปได้ว่าระเบียงทางด้านตะวันตกของพระที่นั่งสุทธาวรรย์จะมีมุขยื่นออกไปและมีบันไดขึ้น-ลงทางเบื้องซ้ายและขวา เช่นเดียวกัน
            ปีกอาคาร (พระปรัศว์)
            ปีกอาคารซึ่งถูกชักออกไปทางด้านเหนือและด้านใต้ของมุมทิศตะวันออกเฉียงเหนือและตะวันตกเฉียงใต้อของฐานพระที่นั่งสุทธาวรรย์มีลักษณะเป็นอาคารสี่เหลี่ยมผืนผ้า ด้านแปยาว 9 เมตรด้านสกัดกว้าง 7 เมตร ผนังของแต่ละด้านกว้างประมาณ 1 เมตร ภายหลังการขุดแต่งปรากฏหลักฐานของถึงน้ำกรุหินอ่อนอยู่ภายใน ทั้งปีกด้านทิศเหนือและปีกด้านทิศใต้
สำหรับปีกด้านเหนือนั้น โครงสร้างผนังและเครื่องบนถูกรื้อทำลายลงไปจนหมดสิ้นเหลือเพียงร่องรอยของโคนเสาก่ออิฐถือปูน ฐานเสาบัวคว่ำและผนังเตี้ยๆแต่กระนั้นก็ยังพอจะเห็นร่องรอยขององค์ประกอบและรูปแบบทางสถาปัตยกรรมจากการวิเคราะห์และเปรียบเที่ยบกับปีกอาคารทางด้านใต้ของฐานพระที่นั่งสุทธาวรรย์
กล่าวคือ ปีกอาคารด้านเหนือจะมีช่องหน้าต่างรูปวงโค้งยอดแหลมแบบซาราเซนนิค จำนวน 3 ช่อง เหตุที่เชื่อว่าด้านเหนือมีแต่ช่องหน้าต่างก็เนื่องจากไม่มีร่องรอยของบันไดยื่นจากตัวอาคารมารับช่องประตูทางด้านนี้แต่อย่างใด ส่วนทางด้านใต้ปีของอาคารทศเหนือนั้นปรากฎหลักฐานของช่องประตูจำนวน 2ช่อง ขนาบข่องหน้าต่างตรงกลางจำนวน 1 ช่อง ช่องประตูและช่องหน้าต่างทั้งหมดจะมีรูปแบบเป็นช่องโค้ง เช่นเดียวกับช่องประตูและช่องหน้าต่างทางทิศเหนือของปีกอาคารด้านใต้ของพระที่นั่งสุทธาวรรย์
ด้านสกัดของปีกอาคารทางเหนือนั้นปรากฏร่องรอยของช่องประตู ทั้งด้านตะวันออกและด้านตะวันตก โดยเฉพาะประตูด้านตะวันออกนั้นจะมีร่องรอยของฐานบันไดปรากฏให้เห็นด้วยและช่องประตูทั้งสองด้านก็น่าจะมีรูปเป็นช่องโค้งยอดแหยมเช่นเดียวกับประตูด้านตะวันออกและตะวันตกของปีกอาคารด้านใต้ ทางมุมทิศตะวันตกเฉียงเหนือของปีกอาคารส่วนนี้ปรากฏบันไดยื่นออกไป มีแผ่นหินแอนดีไซต์รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาด 1.00 X 50 เซนติเมตรรองรับ
ปีกอาคารด้านใต้นั้นมีโครงสร้างและรูปแบบทางสถาปัตยกรรมก่อนข้างสมบูรณ์ ง่ายต่อการอธิบายทำความเข้าใจและสามารถนำมาใช้เป็นหลักในการวิเคราะห์เปรียบเทียบกับองค์ประกอบส่วนอื่นๆของอาคารได้เป็นอย่างดี ผนังด้านเหนือยังปรากฏช่องประตูรูปโค้งมุมแหลมจำนวน 2 ช่อง สูงประมาณ 3 เมตร ขนาบช่องหน้าต่างรูปแบบเดียวกันไว้ตรงกลาง ความสูงประมาณ 2.5 เมตร ช่องประตูและช่องหน้าต่างมีความกว้างประมาณ 1.80 เมตรเท่ากัน ผนังด้านใต้ของปีกอาคารถูกรื้อทำลายไปจนหมดสิ้น ขณะที่ผนังด้านตะวันตกยังอยู่ครบ ส่วนผนังด้านตะวันออกนั้นยังคงเหลือเฉพาะซีกประตูด้านเหนือเท่านั้น
ด้านตะวันออกของปีกอาคารส่วนนี้มีบันไดกว้างประมาณ 2 เมตร ยื่นออกไป ส่วนทางมุมทิศตะวันออกเฉียงใต้ก็มีบันไดยื่นออกไปเช่นกัน
ฐานน้ำพุหรือฐานอ่างน้ำสรงสนาน
ฐานน้ำพุหรือฐานอ่างน้ำสรงสนานเป็นรากฐานขององค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมขนาด 7X3 เมตร ซึ่งถูกก่อยื่นเป็นมุขออกไปทางเหนือและใต้ ที่บริเวณจุดกึ่งกลางของรากฐานเดิม (ก่อนจะถูกกำแพงเขื่อนเพชรก่อคล่อมตัดบางส่วนของระเบียงด้านตะวันตกของพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ออกไปเล็กน้อย) ของพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ สภาพก่อนการขุดแต่งมีต้นหญ้า มูลดินและกากปูนปกคลุมประมาณ 10 เซนติเมตร
ฐานน้ำพุหรืออ่างน้ำสรงสนานทางทิศเหนือของเชิงพระที่นั่งสุทธาสวรรย์จะมีเขามอหรอภูเขาจำลองก่ออิฐถือปูนหนา มีแผนผังคล้ายรูปครึ่งวงกลมจำนวน 6 รูป เรียงล้อมกันเป็นวงคล้ายกลีบดอกจันทร์ ลดชั้นจากฐานขึ้นไปสู่ยอด นับได้ 3 ชั้น (2ยอด) 7 ชั้น (2 ยอด)9ชั้น (1 ยอด) และ 11 ชั้น (1 ยอด) รวม 6 ยอด ฐานแต่ละด้านของยอดเขามอจะคว้านร่องทรงกระบอก ซึ่งสันนิษฐานว่าอาจใช้สำหรับประดับพรรณไม้เป็นระยะๆ ฐานของเขามอทำเป็นช่องโค้งมุมแหลมเจาะทะลุจากเหนือไปใต้กว้างประมาณ 1 เมตร มีดินทับถมอยู่จนเกือบเต็มช่องโค้ง ดินดังกล่าวเป็นดินใหม่ ซึ่งถูกนำมาตกแต่งเขามอเนื่องในงานฉลองแผ่นดินสมเด็จ พระนารายณ์ของแต่ละปีที่ผ่านมา
ตรงกึ่งกลางของเขามอทั้งด้านตะวันออกและด้านตะวันตก มีแนวกำแพงแก้วชักปีกออกไปทั้งสองด้านเพียงเล็กน้อยก่อนที่กำแพงแก้วจะหักเลี้ยวไปทางทิศใต้ของทั้งสองด้าน มุมของกำแพงแก้วทั้งสองด้านถูกก่อเป็นเสารูปสี่เหลี่ยมย่อมุม ยอดเสามีลักษณะย่อมุมและทำเป็นหัวเม็ดทรงสี่เหลี่ยมย่อมุม คล้ายกับหัวเม็ดของเสากำแพงแก้วทุกต้นภายในพระราชฐานแห่งนี้สิ่งที่น่าสนใจคือ ลักษณะของกำแพงแก้วทางด้านตะวันออกของฐานน้ำพุหรืออ่างน้ำสนานเชิงเขามอนี้ ไม่มีร่องรอยของคูหาขนาดเล็กรูปโค้งยอดแหลมดังเช่นกำแพงแก้วของพระที่นั่งดุสิตสวรรย์ธัญญมหาปราสาท หรือตึกเลี้ยงรับรองราชทูต และอื่นๆแต่อย่างใด ส่วนฐานน้ำพุหรืออ่างน้ำสรงสนานทางทิศใต้นั้นเหลือเพียงฐานอิฐเหนือชั้นบัวหงายเท่านั้น
ในระยะแรกก่อนการขุดแต่ง สภาพของฐานน้ำพุหรืออ่างน้ำสรงสนานทั้งทางด้านเหนือ(เชิงเขามอ)และทางใต้ ต่างก็มีวัชพืช ดินและกากปูนทรายทับถมค่อนข้างหนา ทำให้ยังไม่สามารถนำมาเชื่อมโยงความสัมพันธ์ทางสถาปัตยกรรมกันได้อย่างลงตัว จนกรทั่งการขุดแต่งดำเนินผ่านไปจึงได้แลเห็นความเชื่อมโยงที่มีต่อกันได้ชัดเจน (ก่อนการขุดแต่งนั้นเชิงเขามอด้านตะวันตกเฉียงใต้พบร่องรอยบันไดกว้างประมาณ 1 เมตร ส่วนเชิงด้านตะวันออกและตะวันตกของฐานน้ำพุด้านใต้พบร่องรอยบันไดขนาบฐานน้ำพุทั้งสองด้าน หลังการขุดแต่งได้พบบันไดด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเขามอเพิ่มอีกหนึ่งแห่ง บันไดทั้งสี่แท่งที่กล่าวถึงนั้น เป็นองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมที่ลงตัวกันอย่างเหมาะสม)
รากฐานเกยคชาธารและเกยราชยาน
ทางมุมทิศด้านตะวันออกเฉียงเหนือของรากฐานพระที่นั่งสุทธาสวรรย์มีชั้นอิฐรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด 2.40X2.00 เมตร ก่อยื่นออกมาเป็นเกยช้างพระที่นั่ง สูงประมาณ 2 เมตร ลักษณะคล้ายเกยช้างพระที่นั่งไกรสรสีหราช
ทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ของรากฐานพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ มีร่องรอยของแนวอิฐสูงประมาณ 20 เซนติเมตร กว้างประมาณ 100 เซนติเมตร สภาพทรุดพัง เข้าใจว่าน่าจะเป็นร่องรอยของเกยราชยานคานหาม
พื้นระเบียงพระที่นั่งสุทธาสวรรย์
พื้นระเบียงพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ทั้งสี่ด้านก่อนการขุดแต่ง มีต้นหญ้า มูลดิน กากปูน ทราย ปกคลุม แนวระเบียงบางส่วนหลงเหลือพื้นปูนหนาเกือบ 20 เซนติเมตร ส่วนระเบียงของพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ กว้างประมาณ 5-6 เมตร ที่บริเวณแนวตรงกันระหว่างฐานน้ำพุหรืออ่างน้ำสรงสนาน มีร่องรอยขนาบด้วยแผ่นปูนขาวกว้างประมาณ 40 เซนติเมตร ยาวประมาณ 2 เมตร ทั้งสองด้านแลดูคล้ายร่องน้ำไหลใช้ส่งไปยังฐานน้ำพุหรืออ่างน้ำสรงสนานทั้งสอง
กำแพงแก้ว
กำแพงแก้วของพระที่นั่งสุทธาสวรรย์นั้นถูกรื้อทำลายไปจนแทบหมดสิ้น เหลือแนวให้เห็นเพียงเล็กน้อยที่เชิงเขามอด้านเหนือ ซึ่งได้กล่าวไปแล้วข้างต้น แนวกำแพงแด้วกับช่องประตูและบันไดขึ้นลงพระที่นั่งสุทธาสวรรย์จะมีความสัมพันธ์กันค่อนข้างมาก ทางด้านเหนือจะมีแนวช่องประตู รวม 5 ช่องทางด้านตะวันออกจะมีแนวช่องประตู 2 ช่อง ด้านใต้จะมีแนวช่องประตู 5 ช่อง และด้านตะวันตกจะมีแนวช่องประตูผ่านกำแพงแก้ว 2 ช่อง
กำแพงปีกท้องพระโรง
กำแพงปีกท้องพระโรงที่คั่นระหว่างพระราชฐานชั้นนอกกับพระราชฐานชั้นในของพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ เป็นส่วนที่ชักปีกออกจากมุมทิศตะวันออกเฉียงใต้และตะวันออกเฉียงเหนือไปจรดแนวกำแพงแก้วทั้งด้านเหนือและด้านใต้ มีความยาวด้านละ 6 เมตร กว้าง 1 เมตร สูงประมาณ 2 เมตรเศษ ปรากฏร่องรอยของประตูทางเข้าด้านละ 1 กว้างประมาณ 1.20 เมตร
ด้านล่างของกำแพงมีลักษณะเป็นรากฐานบัวคว่ำ มีทับหลังกำแพงเป็นรูปบัวหงาย หน้ากระดานบัวคว่ำ สภาพด้านเหนือค่อนข้างสมบูรณ์ มีเพียงทับหลังเท่านั้นที่ถูกทำลายไป ส่วนทางด้านใต้เหลือเพียงซีกผนังด้านเหนือเท่านั้น
มีร่องรอยว่าตรงจุดที่กำแพงปีกท้องพระโรงด้านเหนือแล่นไปจรดกับแนวกำแพงทางทิศเหนือ ซึ่งล้อมด้านเหนือของระเบียงพระที่นั่งด้านตะวันตกไว้นั้น จุดสิ้นสุดของกำแพงได้สร้างคล่อมอยู่บนทับหลังของกำแพงแก้วส่วนนี้ จึงอาจเป็นไปได้ว่า กำแพงปีกท้องพระโรงน่าจะถูกสร้างขึ้นภายหลังกำแพงแก้วในระยะเวลาที่ไม่ห่างกันมากนัก

รากฐานท้องพระโรงที่ประทับของพระที่นั่งสุทธาสวรรย์
ลักษณะเป็นรากฐานรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ยกชั้นสูงเหนือระเบียงพระที่นั่งประมาณ 81 เซนติเมตร มีด้านแปยาว 22 เมตร ด้านสกัดกว้าง 12 เมตร 80 เซนติเมตร ผนังส่วนใหญ่ถูกรื้อทำลายไปจนเกือบหมดสิ้น ด้านเหนือเหลือผนังบางส่วนสูงประมาณ 2 เมตร ด้านตะวันออกไม่เหลือผนังอยู่เลย ด้านใต้เหลือผนังสูงประมาณ 2 เมตร และด้านตะวันตกเหลือผนังสูงประมาณ 100-260 เซนติเมตร
ผนังของท้องพระโรงพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ มีร่องรอยของเสาที่ฝากอยู่กับโครงสร้างผนังเช่นเดียวกับเสาของปึกอาคารทั้งสองด้าน
จากร่องรอยของช่องหน้าต่างทางซีกตะวันตก จำนวน 2 ช่อง ของผนังทางทิศเหนือ มีช่องประตูอยู่ตรงกลาง ทำให้พอจะอนุมานได้ว่า ซีกตะวันออกของผนังทางทิศเหนือก็น่าจะมีช่องหน้าต่าง รวม 2 ช่อง เช่นเดียวกัน ดังนั้นผนังทิศใต้ของท้องพระโรงพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ก็จะมีช่องหน้าต่างและช่องประตูจำนวนเท่ากันด้วย โดยที่ช่องประตูทั้งสองด้านนั้นมีร่องรอยบันไดเตี้ยๆ ฝังอยู่กับผนังด้านแปนั่นเอง
สำหรับผนังด้านตะวันออกนั้น จากร่องรอยของช่องหน้าต่าง 2 ช่อง กับช่องประตู 1 ช่องทางด้านตะวันตก และแนวบันไดที่ยื่นออกไปจากผนังด้านสกัด ทำให้อาจสันนิษฐานได้ว่าผนังด้านตะวันออกของท้องพระโรงควรจะมีช่องประตูขนาดกว้างประมาณ 2 เมตร จำนวน 1 ช่อง ช่องหน้าต่างกว้างประมาณ 1.20 เมตร จำนวน 2 ช่อง เช่นเดียวกับด้านตะวันตกซึ่งอยู่ทิศตรงกันข้าม
หลุมลึกขนาด 4X7 เมตร ทางมุมทิศตะวันออกเฉียงใต้ของรากฐานท้องพระโรง เดิมที่เข้าใจกันว่าเป็นถังเก็บน้ำเพื่อใช้ในพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ แต่เมื่อตรวจสอบผนังทุกด้านดูแล้วไม่ปรากฏรอยยาปูนขาวกันซึมตามคุณลักษณะของถังน้ำแม้แต่น้อย ดังนั้นสภาพที่เห็นในปัจจุบันคงเกิดจากการลักลอบขุดหาโบราณวัตถุ ซึ่งเชื่อกันมาอย่างผิดๆว่า ถูกฝังอยู่ใต้พื้นพระที่นั่งองค์นี้
แท้ที่จริงแล้วส่วนดังกล่าวเป็นโครงสร้างฐานรากของอาคารที่ก่อเป็นเอ็นยึดผัง และอัดทรายเพื่อรองรับน้ำหนักของโครงสร้างส่วนบนของพระที่นั่งสุทธาสวรรย์เท่านั้น หลักฐานสำคัญชิ้นหนึ่ง คือแผนผังพระนารายณ์ราชนิเวศน์ เมืองลพบุรี ก็มิได้ลงตำแหน่งของหลุมดังกล่าวไว้แสดงให้เห็นว่าการขุดเกิดขึ้นในสมัยหลัง
พื้นของท้องพระโรงมีร่องรอยของการปูอิฐเอาไว้ เหนือชั้นอิฐเทปูนขาวปิดทับ มีกากปูนและวัชพืชปกคลุมทั่วไป

การขุดแต่งรากฐานพระที่นั่งสุทธาสวรรย์
การสำรวจทางโบราณคดีและการวางฝังหลุมขุดแต่งรากฐานพระที่นั่งสุทธาสวรรย์
            กระบวนการขุดแต่งพระที่นั่งสุทธาสวรรย์เพื่อศึกษารากฐานอาคาร รวมทั้งเทคนิคทางสถาปัตยกรรม และหลักฐานทางโบราณคดี เพื่ออธิบายเรื่องราวความเป็นมาในอดีตและพัฒนาการทางศิลปะสถาปัตยกรรม รวมทั้งแง่มุมบางอย่างที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรรมการจัดการระบบน้ำภายในพระราชวังนารายณ์ราชนิเวศน์ ประกอบด้วยขั้นตอนเหล่านี้ คือ การสำรวจที่ตั้งและสภาพทั่วไปของพระที่นั่งสุทธาสวรรย์เพื่อกำหนดตำแหน่งของโบราณสถานลงไปในผังบริเวณ การทำแผนผังแนวราบของโบราณสถานและการตอกหมุดแบ่งหลุมขุดแต่งครอบคลุมพื้นที่ที่ได้กำหนดไว้ เพื่อให้การเก็บบันทึกข้อมูลทางโบราณคดีเป็นไปอย่างถูกต้อง มีหลักฐานอ้างอิง และท้ายที่สุดคือการทำรูปแบบตั้งทั้งสี่ด้านของรากฐานพระที่นั่งสุทธาสวรรย์เพื่อบันทึกลักษณะทางสถาปัตยกรรมของรากฐานพระที่นั่งโดยละเอียดก่อนการขุดแต่งหาข้อมูลทางโบราณคดีแบบรูปตั้งของรากฐานพระที่นั่งสุทธาสวรรย์จะเป็นหลักฐานที่ใช้ในการเปรียบเทียบและวิเคราะห์รูปทรงดั้งเดิมในอตีตของสถาปัตยกรรม (Architectural Reconstruction หรือ Structural Assumption) แห่งนี้กับสถาปัตยกรรมอื่นๆ ซึ่งถูกสร้างขึ้นในยุคสมัยเดียวกันได้เป็นอย่างดี ระหว่างการทำผังรูปตั้งลวดลายต่างๆ ที่ถูกตกแต่งและยังหลงเหลืออยู่ รวมไปถึงร่องรอยทุกชนิดที่ปรากฏอยู่ที่รากฐานอาคารจึงถูกบันทึกลงไปในแบบภาพร่างด้วยวิธีการวัดตำแหน่งทั้งตามแนวราบและแนวดิ่งของอิฐแต่ละก้อนอย่างรอบคอบ โดยใช้มาตราส่วน 1 : 70 ในแผ่นฟิล์มมาตรฐานขนาด A1
            หลุมขุดแต่งรากฐานพระพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 889 ตาราเมตร ถูกกำหนดให้มีขนาด 5X5 เมตร โดยผังแนวราบมีทิศทางเรียงลำดับตัวเลขขึ้นไปด้านเหนือ ผังแนวดิ่งมีทิศทางทางเรียงลำดับออกไปด้านตะวันตก
            การเรียกชื่อหลุมเพื่ออ้างอิงหลักฐานที่พบจากการขุดแต่ง เริ่มต้นด้วยเลขอารบิคแล้วตามด้วยอักษรชื่อย่อของทิศเป็นภาษาอังกฤษ อาทิ หลุม 1N 1W, 2N 2W, 6N 6W, 5N 9W, 7N 8W เป็นต้น อันจะแตกต่างจากการลำดับชื่อหลุมขุดค้นและขุดแต่งทางโบราณคดีในพื้นที่ขนาดใหญ่อย่างผังเมืองโบราณพระนครศรีอยุธยาบ้างเล็กน้อย เนื่องด้วยผังดังกล่าวเป็นหลุมขนาด 50 X 50 เมตร มีผังหลุมย่อย ขนาด 5X5 เมตร จำนวน 100 หลุม ซ้อนอยู่ภายในหลุมใหญ่แต่ละหลุม และการเรียกชื่อหลุมนั้นจะระบุทิศ ตามด้วยเลขประจำหลุมใหญ่ และชื่อหลุมย่อยโดยลำดับ (อาทิ N5 W8 P3 เป็นต้น)
            ทุกจุดตัดของผังหลุมแต่ละตำแหน่งในผังหลุมขุดแต่งรากฐานพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ สามารถนำไปเทียบเคียง  (Matched) หรือเชื่อมโยงเข้ากับแผนที่จากภาพถ่ายทางอากาศของกรมแผนที่ทหาร (มาตราส่วน 1 : 50,000) ได้อย่างถูกต้อง ด้วยเหตุนี้จะเห็นว่าผังหลุมขุดแต่งพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ได้ปรากฎชื่อพิกัดทางเทคนิคการสำรวจทั้งแนวราบและแนวดิ่งเอาไว้ชัดเจน เพื่อเป็นมาตรฐานในการอ้างอิงข้อมูลหลักฐานทางโบราณคดีและงานวิชาการอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
ขั้นตอนการขุดแต่งและการเก็บรวบรวมหลักฐานโบราณคดี
            การขุดแต่งโบราณสถาน หมายถึง การขุดลอกมูลดิน อิฐหัก กากปูน และวัชพืชที่ขึ้นปกคลุมอยู่บนโบราณสถานออกไปด้วยความระมัดระวัง มิให้เกิดความเสียหายต่อโครงสร้างหรือองค์ประกอบสถาปัตยกรรม
            ร่องรอยทางโบราณคดีและหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ปรากฏขึ้นมาระหว่างการขุดแต่งจะถูกบันทึกด้วยการถ่ายภาพ ทำแผนผัง และบรรยายเป็นลายลักษณ์อักษร โดยละเอียด เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการปฏิบัติงานสนาม ได้แก่ จอบ เสียม พลั่ว เกียง แปรงปัดฝุ่น กล้องถ่ายรูป เครื่องเขียน และถุงพลาสติกสำหรับเก็บบรรจุโบราณวัตถุ เป็นต้น
            การขุดแต่งรากฐานพระที่นั่งสุทธาสวรรย์จนแล้วเสร็จนั้นใช้เวลาประมาณ 1 เดือนเศษในระยะแรกการขุดแต่งรากฐานพระที่นั่งสุทธาสวรรย์เริ่มต้นขึ้นทางด้านตะวันออก เพื่อดูความเหมาะสมว่าจะต้องขุดลอกมูลดินที่ทับถมด้านข้างรากฐานพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ประมาณเท่าใด จากการปฏิบัติงานพบว่าทางด้านตะวันออกนี้มีมูลดินและกากปูนทับถมอยู่ประมาณ 10-15 เซนติเมตรหนือพื้นถนนอิฐราดปูนขาวนับว่ามีอัตราการทับถมของชั้นดินน้อยมาก ทั้งนี้อาจจะมีสาเหตุมาจากมีการปรับปรุงและดูแลพื้นที่ต่อเนื่องกันมาเป็นอย่างดีในอดีต เพราะโบราณสถานในบริเวณใกล้เคียงเคยเป็นทีทำการราชการ ก่อนที่จะอยู่ภายใต้การดูแลของกรมศิลปากร นอกจากนี้ยังมีประวัติบอกเล่าว่าเคยผ่านการขุดแต่งมาแล้วอย่างน้อยหนึ่งครั้งด้วย
            พื้นที่ดำเนินการขุดแต่งทางด้านตะวันออกอยู่ห่างจากรากฐานพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ ระยะ 5 เมตร ตามแนวเหนือ – ใต้ โดยหลุมขุดแต่งเริ่มต้นจาก 1N 1W จนถึง 9N 1W
            การขุดแต่งพื้นที่เชิงพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ด้านตะวันออกใช้เวลาไม่นานนักก็แล้วเสร็จจากนั้นจึงย้ายแรงงานไปปฏิบัติงานต่อบริเวณเชิงพระที่นั่งด้านใต้ และบางส่วนของระเบียงด้านตะวันออกของรากฐานอาคาร การทำงานในชั้นต้นคือ ขุดลอกมูลดินและขนย้ายอิฐหักกากปูน ใช้เวลาไม่นาน เพราะพื้นที่ปฏิบัติงานมีการทับถมไม่มากแต่อย่างใด (อัตราการทับถมของมูลดินเฉลี่ย 30 เซนติเมตร) พื้นที่ปฏิบัติงานห่างจากแนวรากฐานพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ ประมาณ 5 เมตร ยกเว้นทางใต้ของปีกอาคารระหว่างหลุม1N 8W เท่านั้นที่มีพื้นที่ปฏิบัติงานกว้างเพียง 2.5 เมตร หลุมขุดแต่งด้านนี้เริ่มต้นจาก 1N 1W ถึง 1N 8W
            ภายหลังการขุดลอกมูลดินและเศษอิฐหักกากปูนออกไปจากเชิงพระที่นั่งด้านใต้แล้ว การดำเนินงานขุดแต่งพื้นที่ส่วนบนของปีกอาคารทั้งด้านเหนือและด้านใต้ และพื้นที่ระเบียงทั้งสี่ด้านของพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ก็เริ่มขึ้นในเวลาต่อมา สภาพการทับถมของมูลดินมีค่อนข้างน้อย การเสื่อมสภาพของปูนขาวที่ถูกเทราดอยู่เหนือพื้นอิฐมีค่อนข้างสูงมาก แต่พื้นระบียงบางส่วนซึ่งเทปูนหนาประมาณ 15 เซนติเมตร ยังคงรักษาสภาพไว้ได้ค่อยข้างดี สังเกตเห็นได้ชัดเจนว่าปูนขาวมีส่วนผสมของหินอ่อนที่ถูกย่อยเป็นก้อนเล็กๆทั่วไป และเชื่อกันว่าช่างอาจนำหรือเกณฑ์หินอ่อนดังกล่าวมาจากแหล่งหินอ่อนที่เขาสมอคอนซึ่งเมื่อไม่นานมานี้ก่อนมีสัมประทานเหมืองหินอ่อนนั้น ชาวบ้านได้ย่อยหินอ่อนตวงขายเป็นปี๊บ ปัจจุบันก็ยังพอจะมีคนจำได้ว่าเคยมีการประกอบอาชีพย่อยหินอ่อนขายในย่านเขาสมอคอนมาก่อน แต่จะสืบย้อนกลับไปได้ไกลเพียงใดไม่ทราบแน่ชัด
            การขุดแต่งพื้นที่ด้านบนของปีกอาคารและระเบียงโดยรอบพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ในชั้นต้นยังไม่เป็นที่น่าพอใจเท่าใดนัก เนื่องจากยังไม่พบหลักฐานองค์ประกอบสถาปัตยกรรมอันจะนำมามาซึ่งคำอธิบายเกี่ยวกับโครงสร้างและเรื่องราวทางประวัติศาสตร์อย่างเพียงพอ ดังนี้นการเก็บรายละเอียดเพื่อค้นหาร่องรอยต่างๆเพิ่มขึ้น จึงเป็นกระบวนการภาคสนามที่จะต้องดำเนินต่อไป
            การขุดแต่งพื้นที่ซึ่งเชื่อว่าเป็นท้องพระโรงที่ประทับของพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ดำเนินไปพร้อมๆกับการขุดลอกดินออกจากเชิงพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ทางด้านเหนือ
            พื้นที่ส่วนท้องพระโรงมีการทับถมของมูลดินไม่มาก การดำเนินการส่วนใหญ่คือ การแซะหญ้าแห้วหมูและวัชพืชอื่นออกไป นอกจากนี้ยังมีขุยดินและขุยทรายที่กระจัดกระจายทับถมอยู่ด้านบนเนื่องจากการขุดเอาดินอัด ทรายอัดที่ใช้รองรับโครงสร้างและกันทรุดพังจึ้นมาจากหลุม N5 4W จนสภาพของพื้นท้องพระโรงกลายเป็นหลุมสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด 5 X 7 เมตร ลึก 2 เมตร ทำให้อาจเข้าใจผิดได้ว่าหลุมดังกล่าวเป็นร่องรอยคูหาใต้ดินหรือถังเก็บน้ำในสมัยนั้น ข้อสนับสนุนว่าหลุมดังกล่าวมิใช่คูหาใต้ดินหรือถังเก็บน้ำใต้อาคาร คือ ผนังแต่ละด้านของหลุมมิได้ฉาบปูนกันซึมเพื่อใช้เก็บกักน้ำ การสอปูนระหว่างอิฐแต่ละชั้นใช้ปูนหนามาก และไม่มีการปาดปูนด้านข้างแต่อย่างใด เมื่อขุดตรวจลงไปที่พื้นก็ยังพบชั้นทรายหยาบถูกบดอัดเป็นชั้นหนา ดังได้คาดคะเนไว้แล้วในเบื้องต้น
            การขุดแต่งพื้นที่เชิงพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ทางด้านเหนือ จำเป็นต้องย้ายดินออกไปจากพื้นที่รอบเขามอ เนื่องจากเป็นดินใหม่ซึ่งถูกนำมาปรับแต่งเป็นสวนไม้พุ่มขนาดเล็ก ระหว่างงานฉลองแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์ เมื่อประมาณ 2 - 3 ปีมานี้เอง
            พื้นที่หลุมขุดแต่งทางมุมทิศตะวันตกเฉียงเหนือของตัวอาคารถัดจากเขามอออกไป น่าจะเคยเป็นจุดทิ้งและเผาขยะของส่วนราชการเดิมมาก่อน เนื่องด้วยขุดพบเศษวัสดุประเภทโลหะสังกะสีผุๆ เศษแก้ว ขวดยานัตถุ์ ขวดน้ำหอม เศษเหล็ก และอื่นๆ ทับถมอยู่ในชั้นดินตื้นๆ โครงสร้างของดินก็มีลักษณะเกาะกันแบบหลวมๆ มีเศษเถ้าถ่านปะปน
            เมื่อการขุดแต่งรากฐานพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ครอบคลุมพื้นที่ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้อย่างเหมาะสมในเบื้องต้นแล้ว คณะทำงาน ได้แก่ นักโบราณคดี ช่างสำรวจ และช่างศิลปกรรม ได้ใช้เวลาในการสำรวจพื้นที่ทั้งหมดอีกครั้งหนึ่ง เพื่อพิจารณาและประเมินสภาพโบราณสถานภายหลังการขุดแต่งอันจะทำให้การติดตามร่องรอยขององค์ประกอบและรากฐานสถาปัตยกรรมมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้นในระหว่างนั้นก็ได้ชี้จุดให้แรงงานขุดแต่งลงพื้นที่ ใช้ความประณีตใจการเก็บรายละเอียดต่างๆ ของพื้นระเบียง ลำราง และท่อน้ำดินเผาที่ฝังอยู่ใต้พื้นอิฐ โดยรอบอย่างระมัดระวัง ทั้งนี้ยิ่งใช้ความสังเกตขณะปฏิบัติงานขุดแต่งมากเพียงใดก็จะยิ่งช่วยให้การบรรยายและการบันทึกสภาพภายหลังการขุดแต่งโบราณสถานมีสาระและคุณภาพมากยิ่งขึ้น ระดับศักยภาพของข้อมูลและหลักฐานดังกล่าวมานี้จะช่วยอธิบายและเชื่อมโยงเรื่องราวเกี่ยวกับโบราณสถานแห่งนี้ไดเป็นอย่างดี
สภาพรากฐานพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ภายหลังการขุดแต่ง
            เชิงรากฐานพระที่นั่งสุทธาสวรรย์
            การขุดลอกมูลดินและเศษอิฐหักออกจากพื้นที่เชิงพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ทางด้านเหนือระยะห่างจากรากฐานพระที่นั่งประมาณ 5 เมตร ได้พบพื้นลานพระราชฐานอยู่ลึกลงไปจากผิวดิน ประมาณ 30-40 เซนติเมตร พื้นดังกล่าวถูกปูด้วยอิฐ ขนาดประมาณ 28 X 14 X 5 เซนติเมตร เหนืออิฐขึ้นไปจะมีพื้นปูนขาวเทราดทับอีกชั้นหนึ่งหรือไม่นั้น น่าสงสัยไม่น้อย อย่างไรก็ตามการพบชิ้นส่วนของแผ่นกระเบื้องอิฐรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาดประมาณ 30 X 30 X 3 เซนติเมตร ปริมาณเล็กน้อยที่หลุม 9N 7W ทำให้นึกเปรียบเทียบถึงพื้นระเบียงคดหรือพื้นลานประทักษิณที่วัดบางแห่งในเมืองพระนครศรีอยุธยา ซึ่งนิยมทำพื้นอิฐเหนือชั้นดินอัดก่อนจะปูด้วยแผ่นกระเบื้องอิฐรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาดใกล้เคียงกันอีกครั้งหนึ่งแผ่นกระเบื้องอิฐชนิดนี้มีความแข็งแกร่ง ทนทาน และสวยงามมาก หากเคยถูกนำมาปูเรียงเป็นพื้นลานพระราชฐานในพระราชวังแห่งนี้มาก่อนก็น่าจะหลงเหลือร่องรอยหลักฐานไว้มากกว่านี้ หรือมิฉะนั้นก็อาจถูกรื้อไปใช้ประโยชน์จนหมดสิ้นแล้วก็ได้
            เชิงพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ทางด้านตะวันออกถูกออกแบบให้เป็นถนนพื้นอิฐ เทปูนขาวซึ่งมีส่วนผสมของหินอ่อนขนาดต่างๆกัน (ตั้งแต่เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.5 -2.5 เซนติเมตร) ถนนสายนี้เริ่มต้นจากแนวประตูกำแพงด้านเหนือ ผ่านหน้าพระที่นั่งไปสู่ประตูพระราชฐานทางใต้ โดยมีจุดหักเลี้ยวไปทางตะวันออกที่กึ่งกลางรากฐานพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ เป็นทางสามแพร่งมุ่งสูประตูพระราชฐานทางตะวันออก
            ถนนดังกล่าวมีความกว้างประมาณ 4 เมตร ด้านตะวันออกของถนนถูกขุดเป็นรางระบายน้ำแล้วทำผนังอิฐเตี้ยๆยกเป็นขอบถนน ส่วนด้านตะวันตกมีแต่ขอบถนนเพียงอย่างเดียว
            มีข้อถกเถียงพิจารณากันพอสมควรว่าพื้นถนนสายนี้เป็นของเดิมมาตั้งแต่สมัยอยุธยา หรือจะถูกบูรณะขึ้นใหม่ในสมัยรัตนโกสินทร์ เนื่องจากมีมูลดินทับถมเพียงบางๆ และใช้อิฐไม่สมบูรณ์มาปูเรียงและแนวถนนลักษณะดังกล่าวมีร่องรอยอยู่ทั่วไปภายในพระราชวังนารายณ์ราชนิเวศน์ ข้อเสนอที่เห็นว่าถนนว่าจะเป็นของเดิมในสมัยอยุธยา พิจารณาจากส่วนผสมของปูนมีลักษณะใกล้เคียงกับพื้นปูนบนระเบียงพระที่นั่ง และปูสอกันซึมที่อ่างเก็บน้ำในพระราชฐานชั้นนอก
            ที่หลุม 4N 1W (ด้านใต้ของมุขที่ยื่นออกมาทางตะวันออก) พบแผ่นหินชนวนขนาดประมาณ 30 X 50 X 5 เซนติเมตรวางเป็นแนวจากตะวันตกไปตะวันออกอยู่ใต้พื้นถนน ปิดบนท่อน้ำดินเผาอีกครั้งหนึ่ง เข้าใจว่าด้านเหนือของมุขก็น่าจะมีแนวดังกล่าวเช่นกัน
            บริเวณเชิงพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ด้านใต้ พบว่าพื้นพระราชฐานด้านนี้มีลักษณะเป็นลานเทด้วยปูนผสมทรายหยาบและหินอ่อนก้อนเล็กๆ พื้นบางส่วนมีอิฐทรงปริมาตรปูทับอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งยังไม่สามารถหาคำอธิบายได้ว่ามีความสัมพันธ์กับรากฐานอาคารอย่างไร เนื่องจากมีสภาพไม่ค่อยชัดเจนเท่าใดนัก
            เมื่อทดลองขุดลอกมูลดินต่อเนื่องไปทางใต้ กว้าง 50 เซนติเมตร ห่างออกมาจากฐานพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ ประมาณ 10 เมตร (ตรงกับพื้นที่หลุมทดสอบชั้นดินทางโบราณคดี 1S 3W) ก็พบว่ายังคงมีพื้นปูนเทกว้างออกไปประมาณ 10 และสิ้นสุดลงที่แนวชั้นอิฐกว้างประมาณ 60 เซนติเมตร หากพิจารณาจากหลักฐาน Plan du Palais de Louvo แล้ว แนวอิฐชุดนี้น่าจะเป็นรากฐานของกำแพงล้อมพระราชอุทยานขนาดเล็กด้านเหนือและใต้ของพระที่นั่งสุทธาสวรรย์นั่นเอง พระราชอุทยานดังกล่าวคงจะมีลักษณะเป็นสวนย่อมๆ มีพื้นลาดพระบาทเทปูน สำหรับเสด็จลงสำราญพระราชหฤทัยเมื่อทรงปลูกพรรณไม้หอมพันธุ์หายากด้วยพระองค์เอง ตามบันทึกของแชร์แวส เราจะเห็นประตูทางเข้าพระราชอุทยานทั้งสองฟากตั้งอยู่ด้านตะวันตก เยื้องกับประตูและบันไดของปีกอทางเหนือและใต้เล็กน้อย
            ในพื้นที่หลุม 3N 4W ได้พบอ่างน้ำรูปสี่เหลี่ยมขนาดประมาณ 1X1 เมตร ขอบกรุอิฐพื้นปูนอิฐ ฉาบปูนกันซึมแน่นหนา พบท่อดินเผาเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2.5 เซนติเมตร ที่ขอบอ่างด้านใต้ท่อดังกล่าวนี้อาจเป็นท่อส่งน้ำจากพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ต่อเข้าไปยังพระราชอุทยานเล็กด้านใต้ด้านตะวันตกของอ่างมีหลุมรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสก่อด้วยอิฐตั้ง ลึกประมาณ 30 เซนติเมตร แต่อาจจะบึกมากกว่านี้ก็ได้ (มีดินทับถมอยู่ข้างในช่องเล็กยากต่อการขุดตาม) ส่วนด้านเหนือบริเวณฐานระเบียงมีหลักฐานของการเซาะอิฐเป็นร่องกว้างประมาณ 10 เซนติเมตร ยาวประมาณ 100 เซนติเมตร มุ่งตรงไปยังแผ่นหินชนวนกรุขอบลำรางแผ่นหินชนวนนี้เซาะด้านบนเป็นร่องรูปครึ่งวงกลม ขนาดของเส้นผ่าศูนย์กลาง (ครึ่งวงกลม)ประมาณ 2.5 เซนติเมตร เช่นเดียวกับเส้นผ่าศูนย์กลางของท่อน้ำดินเผาด้านล่าง หลักฐานนี้จะเป็นร่องรอยแนวของท่อโลหะสำริดที่ใช้ส่งน้ำจากลำรางไปยังอ่างน้ำและพระราชอุทยานด้านใต้ได้หรือไม่
            ด้านตะวันออกของอ่างดังกล่าว เป็นบันไดอิฐขนาดประมาณ 60X100 เซนติเมตร รับกับบันไดด้านเหนือของพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ ซึ่งมีแผ่นหินแอนดีไซต์ปูอยู่บนขั้นบันได (8N 4W) บันไดด้านใต้นี้แต่เดิมก็น่าจะมีแผ่นหินแอนดีไซต์ปูทับอยู่ข้างบนเช่นกัน
อ่างเก็บน้ำ
                เขามอและหลักฐานระบบการทดน้ำจ่ายน้ำ
                    เขามอ                                                                           ท่อด้านตะวันออกของเขามอ

            เมื่อการขุดแต่งพื้นที่รอบๆเชิงเขามอ ทางเหนือของพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ ซึ่งบันทึกของนิโคลาส แชร์แวส ระบุว่าเป็นสระน้ำลักษณะคล้ายถ้ำเล็กๆ เสร็จสิ้นลง ได้พบแนวท่อน้ำดินเผาที่เชิงเขามอด้านเหนือ 2 แนว ทำมุมเฉียงกัน ท่อน้ำดังกล่าวมีต้นทางมาจากด้านเหนือ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อทดน้ำเข้ามาใช้ภายในพระที่นั่งสุทธาสวรรย์  ท่อน้ำทั้งสองแนวถูกฝังอยู่ใจ้ดินมีอิฐตะแคง อท่งศิลาแลงและพื้นปูนลานพระราชฐานปูทับตามลำดับอย่างแน่นหนามั่นคง
            ฐานโดยรอบรูปครึ่งวงกลมทางด้านเหนือเชิงเขามอมีร่องรอยของการฝังท่อน้ำดินเผา ปิดทับด้วยแผ่นดินอิฐปูนอน ท่อดินเผาดังกล่าวอาจเป็นเพียงท่อระบายน้ำออกจากจุดใดจุดหนึ่งของระเบียงหรือสระน้ำด้านใต้ของเขามอ ขณะที่ฝั่งทางใต้ของเชิงเขามอ ซึ่งอยู่บนระเบียงพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ได้ขุดพบลานอิฐขนาด 1.60X2.90 เมตร มีลำรางขนาดประมาณ 30 เซนติเมตร ล้อมทั้งสี่ด้าน ที่มุมลำรางมีหลุมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 40-50 เซนติเมตร รวม 4หลุม หลักฐานที่พบนี้เป็นร่องรอยของสระน้ำหรืออ่างน้ำที่มีลักษณะคล้ายถ้ำเล็กๆ ในบันทึกของนิโคลาส แชร์แวส นั่นเอง หลุมทั้งสี่มุมของสระแห่งนี้น่าจะเป็นร่องรอยของหลุมเสากระโจมตามระบุในเอกสารเช่นกัน ใต้ช่องโค้งมุมแหลมด้านเหนือของสระน้ำหรืออ่างน้ำนี้ มีบ่อรูปรีหรือรูปกระเพาะหรือกระเปาะ มุมทางใต้ของบ่อทำเป็นรูปเหลี่ยมหรือมุขยื่นออกมา บ่อนี้ลึกประมาณ 70-80 เซนติเมตร ความกว้างใกล้เคียงกัน ด้านบนซ้ายและขวาเป็นท่อน้ำให้เกิดการใหลเวียนขนาดต่างกัน บ่อและท่อดินเผานี้ยาปูนแน่นหนา

การค้นพบสระน้ำหรือแท้ที่จริงก็คืออ่างน้ำขนาดใหญ่
            การขุดแต่งที่บริเวณหลุม 2N 5W, 2N 6W, 3N 5W,3N 6W, อ้นเป็นที่ตั้งขององค์ประกอบสถาปัตยกรรมซึ่งเรียกในชั้นต้นว่า “ฐานน้ำพุ” ทางด้านใต้ของพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ ได้พบร่องรอยของสระน้ำหรืออ่างน้ำ ขนาดประมาณ 2.90X2.90  เมตร มีลำรางล้อมทั้ง 4 ด้าน และที่มุมลำรางก็มีหลุมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 60 เซนติเมตรอยู่ทั้งสี่มุมด้วย ตรงจุดกึ่งกลางของสระหรืออ่างน้ำ มีท่อโลหะสำริดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 เซนติเมตร วางแนวทะลุถึงระดับพื้นพระราชอุทยาน ซึ่งแต่เดิมนักโบราณคดีเข้าใจว่าสระน้ำนี้เป็นร่องรอยของฐานน้ำพุ แต่เมื่อตรวจสอบจากหลักฐานของแชร์แวสโดยยึดจากการอ้างถึงสระน้ำด้านเหนือที่มีลักษณะคล้ายถ้ำ และการยึดหลักความลงตัวขององค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมแล้วสิ่งที่เรียกว่าฐานน้ำพุทางด้านใต้ของพระที่นั่งสุทธาสวรรย์นั้น น่าจะเป็นสระน้ำหรืออ่างน้ำอีกแห่งหนึ่งอันมีหลุมเสากระโจมเป็นองค์ประกอบสำคัญอีกอย่างหนึ่งด้วย
            ส่วนท่อสำริดซึ่งวางเป็นแนวฉากกับพื้นสระน้ำจะถูกวางใต้พื้นดินขณะสร้างพระที่นั่งสุทธาสวรรย์มาจากท่อน้ำดินเผาเชิงเขามอด้านเหนือได้หรือไม่
            มีข้อสงสัยอีกประการหนึ่งว่า ร่องรอยของสระน้ำทั้งทางด้านเหนือและด้านใต้ของพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ที่ขุดพบ เป็นเพียงสระที่มีขนาดเล็กๆเท่านั้น (สระเหนือ 1.60X2.90 เมตร สระใต้ 2.90X2.90  เมตร) ขัดแย้งกับคำกล่าวของแชร์แวสที่ระบุว่า
            “ที่มุมทั้งสี่มีสระน้ำใหญ่สี่บรรจุน้ำบริสุทธิ์ เป็นที่สรงสนานของพระเจ้าแผ่นดิน ภายใต้กระโจมซึ่งคลุมกั้น”
            ดังนั้นเป็นไปได้หรือไม่ที่แชร์แวสจะระบุถึง Les Bassins ซึ่งแม้จะแปลได้ทั้ง “สระน้ำ” หรือ “อ่างน้ำ” แต่โดยเจตนารมณ์ที่แท้จริงแล้ว เขาต้องการจะกล่าวถึงอ่างน้ำขนาดใหญ่มากกว่าและหลักฐานที่ขุดพบก็สนับสนุนความคิดนี้ยิ่งกว่าใด
            ด้วยเหตุนี้เพื่อให้การเรียกองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมดังกล่าวนี้ มีความเหมาะสมสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของหลักฐานและสภาพความเป็นจริง ในชั้นนี้จะเรียก “สระน้ำ” ทั้งสี่แห่งว่า “อ่างน้ำ”ต่อไป
            การขุดค้นพื้นที่บริเวณหลุม 5N 2W ได้พบร่องรอบของลานอิฐรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด ประมาณ 2.90 หรือ 3.00X2.90 หรือ 3.00 เมตร มีลำรางล้อมและมีหลุมเสากระโจมทั้งสี่มุมเช่นกันตรงกลางมีรูเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2.5 เซนติเมตร ลักษณะเป็นรูท่อสำริด ซึ่งทดสอบความลึกได้ใกล้เคียงกับท่อสำริดในอ่างน้ำด้านใต้ สิ่งที่พบนี้คงจะเป็นอย่างอื่นไปเสียไม่ได้ นอกจากอ่างน้ำทางมุขด้านตะวันออกตามที่นิโคลาส แชร์แวส ระบุไว้ ด้วยเหตุจากลักษณะความคล้ายคลึงกันของหลักฐานนั่นเอง
            การขุดพบอ่างน้ำจำนวน 3 สระ ตามหลักฐานประวัติศาสตร์ในจุดที่รับกันขององค์ประกอบสถาปัตยกรรม คือ อ่างน้ำด้านเหนือคู่กับอ่างน้ำด้านใต้ และอ่างน้ำด้านตะวันออก เพราะฉะนั้นหากอาศัยหลักการเดียวกันอ่างน้ำแห่งที่ 4 ก็ควรจะอยู่ที่ชานระเบียงทางมุมทิศตะวันตกของพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ หลุม 5 8 แต่ก็ไม่พบร่องรอยของอ่างน้ำ เมื่อตรวจสอบแผนผังพระนารายณ์ราชนิเวศน์ เมืองลพบุรี ก็ได้พบจุดที่อยู่ห่างจากกำแพงคั่นพระราชฐานชั้นที่ 3 กับพระราชฐานฝ่ายใน ประมาณ 25-30 เมตร มีความเหมาะสมอย่างยิ่งที่จะเป็นอ่างน้ำแห่งที่ 4 แต่ก็ไม่ขอยืนยันมั่นคงเท่าใดนักในที่นี้
            มีข้อสังเกตประการหนึ่งว่า ในขณะที่อ่างน้ำทิศตะวันออกและทิศใต้มีท่อน้ำสำริดเป็นองค์ประกอบสำคัญในการส่งผ่านน้ำมายังอ่างน้ำ ส่วนอ่างน้ำด้านตะวันออกเชิงเขามอมีท่อดิเผาขนาดใกล้เคียงกันเป็นตัวปล่อยน้ำออกมา การลดขนาดของท่อจ่ายน้ำให้เล็กลง ย่อมจะทำให้น้ำมีแรงดังเพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะดันออกมาในแนวระนาบหรือดันขึ้นไป ด้วยเหตุนี้ในขณะที่น้ำในอ่างน้ำด้านตะวันออกอาจถูกปล่อยออกมาในแนวระนาบเป็นสายธารไหลวนอยู่ภายในถ้ำเล็กใต้เขามอ น้ำบางส่วนอาจจะถูกขึ้นไปบนเขามอด้วยอุปกรณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วปล่อยให้ไหลลงมาเป็นน้ำตก ส่วนอ่างน้ำด้านตะวันออก ด้านใต้ และอ่างน้ำด้านตะวันตกนั้น แรงดังของน้ำจะทำให้เกิดน้ำพุพุ่งกระจายขึ้นมาเป็นสาย หากมีวัตถุบังคับทิศทางอย่างถูกต้องเหมาะสมก็อาจจะทำให้กระแสน้ำที่พุ่งขึ้นกลายเป็นน้ำพุที่พร่างพรายสายน้ำออกไปรอบทิศอย่างงดงาม
            คำให้การขุนหลวงหาวัด นอกจากจะกล่าวถึงการสร้างพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท (คือดุสิตสวรรย์ธัญมหาปราสาท) และพระที่นั่งสวรรย์ (พระที่นั่งสวรรย์) แล้ว ยังกล่าวถึงน้ำพุอ่างแก้ว ซึ่งมีน้ำดั้นน้ำกระดาษเป็นองค์ประกอบ
            น้ำพุและอ่างแก้วนั้นมีความหมายชัดเจนอยู่ในตัวของมันเอง แต่คำว่า “น้ำดั้น” กับ “น้ำกระดาษ” ดูเหมือนว่าอาจจะเลือนหายจากสำนึกรับรู้และพจนานุกรมฉบับปัจจุบันไปแล้ว
            การอธิบายเพื่อทำความเข้าใจกับคำทั้งสองมิใช่เรื่องยาก เพียงแต่ต้องอาศัยหลักการสังเกตและเชื่อมโยงหลักฐานทางโบราณคดีเข้าด้วยกันอย่างเหมาะสม
            คำว่า “น้ำดั้น” หากมิได้หมายถึง ระบบการทดน้ำจ่ายน้ำ (ดั้น = มุดด้นไป, พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525, หน้า 298) ไปตามท่อน้ำดินเผา ก็น่าจะหมายถึงน้ำพุที่ “ดั้น” ขึ้นจากอ่างน้ำหรือสระน้ำ
            คำว่า “น้ำกระดาษ” นี้ ความจริงแล้วหลักฐานน่าจะบันทึกไว้ว่า “น้ำกระดาด” หรือ “น้ำดาด” มากกว่า เพราะอาจทำให้เข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น หากเป็นเช่นนั้นแล้ว “น้ำกระดาษ” หรือ “น้ำกระดาด” หรือ “น้ำดาด” จะหมายถึงน้ำซึ่งไหลลงมาจากที่สูงได้หรือไม่ และที่สูงในความหมายที่เชื่อมโยงกับพระที่นั่งสุทธาสวรรย์มากที่สุดก็คือ เขามอ น่าเสียที่คำว่า “ดาด” นั้น พจนานุกรมอธิบายว่าเป็นคำกริยา เช่นเอาวัตถุเช่นผ้าปิด ซึ่งให้ทั่วตอนเบื้องบน เช่น ดาดเพดาน ดาดหลังคา เมื่อเป็นคำวิเศษณ์แปลว่า ไม่ชัน เช่น หลังคาดาด เป็นต้น และหากยึดตามตำราแล้วการอธิบายว่า “น้ำดาด” หรือ “น้ำดาษ” หมายถึง น้ำซึ่งตกลงมาจากที่สูง เช่นเขามอ คงจะไม่ได้รับการยอมรับอย่างแน่นอน
อ่างเก็บน้ำหรือถังเก็บน้ำประปา  
หลักฐานในปีกอาคารเหนือ-ใต้
            เมื่อการขุดแต่งปีกอาคารด้านเหนือ (พระปรัศว์ขวา) และปีกอาคารด้านใต้ (พระปรัศว์ซ้าย) แล้วเสร็จ ได้ค้นพบอ่างน้ำขนาดประมาณ 1.00X1.50 เมตร กรุด้วยหินอ่อนหนาประมาณ 4-5 เซนติเมตร (ควรตรวจสอบขนาดอีกครั้งเพื่อความแม่นยำ) ทั้งสองด้าน
            อ่างหินอ่อนนี้มีลำรางส่งน้ำจ่ายน้ำ ซึ่งอาจโยงใยมาจากอ่างน้ำเชิงเขามอด้านเหนือก็ได้เนื่องจากได้พบทั้งแนวท่อน้ำดินเผาและแนวลำรางเลาะมาตามกำแพงแก้วโดยตลอด (จะได้กล่าวถึงข้างหน้า)
            หลักฐานหลายชิ้น อาทิ พระราชพงศาวดารกรุงสยาม ฉบับบริติชมิวเซียม ระบุถึงเทคนิคการเก็บกักน้ำในอ่างว่าต้อง “กรุศิลายาปูนเป็นอันดี” (ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 82, พระราชพงศาวดารกรุงสยาม ฉบับบริติชมิวเซียม,25357 หน้า 247) หรือ “ตรุศิลายาปูนเป็นอันดี” (พระราชพงศาวดารกรุงสยาม ฉบับพระพนรัตน์,2535,หน้า 214) การกรุศิลายาปูนนั้นอาจเป็นเทคนิคที่รู้จักกันดีของช่างไทย แต่การใช้หินอ่อนมาทำอ่างน้ำ ดูเหมือนจะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้น้อยมาก
            เอกสารสำคัญร่วมสมัย คือ จดหมายเหตุการณ์เดินทางครั้งที่ 2 ของบางหลวงกีย์ ตาชารต์ ระบุว่า โรงสวด Notre – Dame de Laurette ในบ้านของคอนสแตนติน ฟอลคอน มีการนำหินอ่อน “มาใช้อย่างไม่อั้น” แต่หินอ่อนนั้นเป็นวัสดุก่อสร้างทีมีค่าและมีราคาแพงมาในชมพูทวีป จึงไม่ค่อยเป็นที่รู้จักกันการสร้างอ่างน้ำกรุหินอ่อนยาปูนกันซึมอย่างดีในพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ จึงไม่น่าจะเป็นปรากฏการณ์ธรรมดาสามัญ
            เหตุใดนักโบราณคดีจึงมิได้ระบุว่าอ่างน้ำภายในพระปรัศว์ทั้งสองด้านเป็นอ่างน้ำจำนวน 2 ใน 4 อ่างที่แชร์แวส ระบุ ในที่นี้ยังไม่สามารถหาคำตอบที่เหมาะสมมาอธิบายได้ ทั้งๆที่เป็นจุดที่ไม่ควรจะมองข้าม
            ทางด้านใต้ของพระปรัศว์ซ้ายมีบันไดปูด้วยแผ่นหินแอนดีไซต์ รับกับบันด้านเหนือของพระปรัศว์ขวา ซึ่งดูเหมือนว่าแผ่นหินแอนดีไซต์บางชิ้นจะถูกเคลื่อนย้ายออกไป
            นอกจากแผ่นหินแอนดีไซต์จะถูกนำมาปูที่ขั้นบันไดแล้ว ยังพบว่ามีร่องรอยการนำหินชนิดดังกล่าวมาปูบนพื้นด้านตะวันตกและด้านใต้ของพระปรัศว์ขวา รวม 4 จุด และปูบนพื้นด้านเหนือและตะวันตกของพระปรัศว์ซ้าย รวม 4 จุดเช่นกัน แต่ร่องรอยการปูหินบางจุดถูกรื้อไปจนหมดสิ้นแล้ว จุดตังกล่าวคือด้านเหนือของพระปรัศว์ซ้าย (หลุม 3N 7W) ซึ่งได้พบร่องรอยของการถมทรายอัดและศษกระเบื้องเคลือมุงหลังจักรพรรดิคาสีเหลืองทับถมอยู่ด้านล่าง อันอาจเป้นหลักฐานบ่งบอกถึงการเชื่อมต่อพระปรัศว์ในระยะหลัง เนื่องจากพบการทำฐานเขียงและลวดลายบัวคว่ำอยู่ทีจุดนี้อย่างชัดเจน
สภาพระเบียงและหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
            การขุดแต่งระเบียงพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ทำให้ได้พบหลักฐานลำรางกว้างประมาณ 30-40 เซนติเมตร วางแนวเลาะกำแพงแก้วของพระที่นั่งทั้งสามด้าน (เหนือ ตะวันออก ใต้) ด้านนอกของลำรางจะมีท่อน้ำดินเผาถูกฝังโผล่ปลายท่อขึ้นมาให้เห็น และตลอดแนวลำรางจะมีหลุมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 30-40 เซนติเมตร เรียงรายอยู่เป็นระยะๆ
            ในชั้นต้นนี้สันนิษฐานว่าลำรางอาจเป็นช่องสำหรับปล่อยให้น้ำไหลผ่านไปหล่อเลี้ยงอ่างน้ำในพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ แต่หลุมเสาที่อยู่ตามแนวลำรางนั้น หาเป็นหลุมเสากระโจมก็อาจจะทำให้การไหลเวียนของน้ำไม่สะดวกเท่าที่ควร และมีข้อสังเกตที่น่าสนใจคือ เมื่อขุดแต่งบริเวณหลุม 3N 8W และ 8N 8W เสร็จสิ้นลง ได้พบหลักฐานแผ่นอิฐวางปิดอยู่เหนือปากลำราง ซึ่งทำเป็นแนวต่อเนื่องมาจากด้านตะวันออก ลำรางที่ขุดพบนี้น่าจะสัมพันธ์กับท่อน้ำดินเผาทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือ และตะวันตกเฉียงใต้ของรากฐานท้องพระโรง (หรือด้านใต้ของขวาและด้านเหนือของพระปรัศว์ซ้าย)
            ท่อน้ำดินเผาที่พบก็มีทั้งท่อน้ำทิ้งและท่อน้ำดี ท่อน้ำทิ้งจะทำหน้าที่ระบายน้ำฝนออกจากระเบียงพระที่นั่งลงสู่ลานด้านล่าง โดยโคนท่อและปลายท่อจะเป็นอิสระไม่เชื่อมกับท่ออื่น ส่วนท่อน้ำดีซึ่งพบด้านใต้ของพระปรัศว์ขวา และด้านเหนือของพระปรัศว์ซ้าย ได้ถูกฝังไว้อย่างมั่นคงใต้พื้นอิฐ มีข้องอและข้อต่อเป็นตัวบังคับทิศทางของท่อ สภาพของท่อทั้งสองด้านถูกฝังอยู่ในช่องลักษณะคล้ายลำราง (ดูแผนผังหลังการขุดแต่ง) จึงอาจเป็นไปได้ว่า แต่เดิมนั้นแนวลำรางทุกด้านของระเบียงพระที่นั่งจะมีท่อน้ำดินเผาฝังอยู่โดยตลอด เพื่อเป็นตัวจ่ายน้ำหล่อเลี้ยงอ่างน้ำทั้งสี่แห่งของท้องพระโรง รวมไปถึงอ่างน้ำในพระปรัศว์ซ้าย-ขวาด้วย ท่อน้ำดินเผาเหล่านี้ได้รับน้ำมาจากแหล่งจ่ายน้ำเชิงเขามอ ซึ่งได้รับน้ำมาจากอ่างแก้วด้านตะวันออกของพระราชฐานชั้นนอก ส่วนท่อน้ำดินเผาทางด้านตะวันออกของรากฐานพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ อาจเป็นท่อส่งน้ำออกไปหล่อเลี้ยงพระราชอุทยานในพระราชฐานชั้นใน
            พื้นระเบียงพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ด้านเหนือบริเวณหลุม 7N 4W และใกล้เคียง มีหลักฐานการปูอิฐเฉียงไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ และมีแนวเอ็นของคานฐานรากเอียงไปทางตะวันตกเฉียงใต้ ส่วนพื้นอิฐด้านอื่นนั้นกลับปูขนานกับแนวรากฐานอาคารตามปรกติ
            เมื่อขุดลอกลึกลงในพื้นและร่องเอ็นไปเพียงเล็กน้อยก็พบทรายหยาบ อันเป็นทรายอัดรับน้ำหนักและกันการทรุดพังของโครงสร้าง ในชั้นแรกตั้งสมมติฐานว่าอาจเป็นแนวร่องวางท่อน้ำดินเผาหรือเกิดขึ้นเนื่องจากมีการซ่อมบูรณะในคราวใดคราวหนึ่ง แต่ก็ยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ในขณะนี้
            ทางด้านใต้ของอ่างน้ำด้านเหนือ และด้านเหนือของอ่างน้ำด้านใต้ตรงกับช่องประตูกลางท้องพระโรง (ด้านใต้เขามอ) พบแนวพื้นปูนขาวหนา 2 แนว คั่นด้วยร่องตื้นๆ แต่เดิมเข้าใจว่าเป็นทางน้ำที่สัมพันธ์กับอ่างน้ำทั้งสอง แต่เมื่อการขุดแต่งเสร็จสิ้นลงก็เห็นว่าแนวคิดดังกล่าวยังไม่มีหลักฐานหรือเหตุผลที่เหมาะสมรองรับ
ท้องพระโรงพระที่นั่ง
            การขุดแต่งพื้นท้องพระโรง พบหลักฐานการปูพื้นอิฐขนาดเดียวกับอิฐที่ใช้ก่อองค์ประกอบส่วนอื่น และเมื่อได้ขุดตรวดชั้นดินในหลุม 5 4 อันเป็นแอ่งใหญ่ที่ถูกขุดเจาะเอาทรายอัดออกไป ได้พบว่าลึกลงไปพอสมควร ยังคงเป็นชั้นทรายอัดอยู่เช่นเดิม
            การพบหลักฐานร่องรอยขององค์ประกอบโบราณสถานภายหลังการขุดแต่ง นับว่าเป็นสิ่งทีมีคุณค่ายิ่งต่อนโยบายและการวางแผนอนุรักษ์และพัฒนารากฐานพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ให้ดำรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ศิลปะ สถาปัตยกรรม และโบราณคดี ต่อไปในอนาคต แม้การขุดแต่งครั้งนี้จะตอบคำถามของนักวิชาการในสาขาที่เกี่ยวข้องได้ระดับหนึ่ง แต่ไม่ต้องสงสัยเลยว่าอาจมีหลักฐานบางอย่างหลุดรอดสายตาของนักโบราณคดีไปบ้าง (อาทิแนวท่อน้ำสำริดและแนวท่อน้ำดินเผา เป็นต้น) เนื่องจากการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2540 ได้กำหนดเป้าหมายพื้นที่ขุดแต่งไว้เพียง 800 ตารางเมตรเศษ ขณะที่หลักฐานเอกสารในอดีตบันทึกขนาดดั้งเดิมของราดฐานพระที่นั่งสุทธาสวรรย์และหมู่ตำหนักบริวารโยงใยออกไปมากกว่า 1 เท่าตัว ดังนั้น เชื่อว่าในโอกาสที่เหมาะสมแล้วคงจะได้มีการดำเนินงานอนุรักษ์และพัฒนารากฐานพระที่นั่งสุทธาสวรรย์อย่างเต็มรูปแบบต่อไป
รูปวิเคราะห์พระที่นั่งสุทธาสวรรย์
            จากการทรุดพังจนเหลือแต่พื้นและผนังบางส่วนของพระที่นั่งสุทธาสวรรย์เช่นนี้ จึงมีความจำเป็นที่จะอธิบายลักษณะและองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมของพระที่นั่งองค์นี้ให้เห็นภาพใกล้เคียงกับสภาพดั้งเดิมในอดีตได้มากที่สุด โดยอาศัยการศึกษา วิเคราะห์ เปรียบเทียบ และตีความจากหลักฐาน เอกสารและหลักฐานในโบราณคดีที่พบจากการขุดค้นและการขุดแต่งทางวิชาการเป็นสำคัญ
พระที่นั่งสุทธาสวรรย์ เป็นสถาปัตยกรรมที่ถูกสร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จัดเป็นสถาปัตย -กรรมสมัยอยุธยาตอนปลาย คำให้การขุนหลวงหาวัด ระบุถึงการสร้าง พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ว่า มีพระที่นั่งฝ่ายขวาชื่อ สุทธาสวรรย์ มีพระที่นั่งฝ่ายซ้ายชื่อ จันทรพิศาล (คำให้การขุนหลวงหาวัด, 2515, หน้า 327-328) เห็นได้ชัดว่าหลักฐานชิ้นนี้ให้ความสำคัญแก่พระที่นั่งดุสิตสวรรย์มากกว่าพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ และพระที่นั่งจันทรพิศาล แต่หลักฐานพระราชพงศาวดารหลายฉบับและเอกสารคำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม ระบุถึงการก่อพระมหาปราสาทสององค์ในพระราชวังที่เมืองลพบุรี คือ พระที่นั่งดุสิตสวรรย์ธัญมหาปราสาท และพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ (หรือสุทไธสว-ริย์มหาปราสาท[1]) ในลักษณะที่ให้ความสำคัญเท่าเทียมกัน

พระที่นั่งจันทรพิศาล
เอกสารคำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรมเป็นหลักฐานเพียงชิ้นเดียวที ซึ่งกล่าวถึงสภาพแวดล้อมทางสถา-ปัตยกรรมโดยทั่วไปในพระราชวังที่เมืองลพบุรีว่าประกอบด้วยพระมหาปราสาทสององค์และพระที่นั่งใหญ่น้อยไม่มียอดหลายองค์ โดยเฉพาะพระที่นั่งสุทไธยสวริย์มหาปราสาท และพระที่นั่งดุสิตสวริยธัญมหาปราสาททั้งสององค์นั้น หลัก-ฐานระบุว่ามียอดทรงมณฑปยอดเดียว มีมุขซ้อน 4 ชั้น และมีฝาทั้ง 4 ด้าน[2]  

อย่างไรก็ตามแม้ว่าจะพบหลักฐาน เอกสารระบุอย่างชัดเจนว่า หลังคาหรือเครื่องบนของพระที่นั่งสุทธาสวรรย์มียอดทรงมณฑป แต่เนื่องจากรากฐานท้องพระโรงของพระที่นั่งมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ไม่มีมุขยื่นออกมาทั้งทางด้านเหนือและด้านใต้ เพื่อเป็นโครงสร้างรองรับน้ำหนักเครื่องบนยอดมณฑปของพระที่นั่ง จึงอาจเป็นไปได้ว่า       เครื่องบนของส่วนที่เป็นท้องพระโรงนั่นอาจเป็นหลังคาลดชั้น 3 ชั้น ไม่มียอด เนื่องจากอาจเป็นเพียงมุขยื่นออกมาจากโครงสร้างหลักของพระที่นั่ง ซึ่งอยู่ถัดออกไปทางด้านหลัง (ดูแผนผังพระนารายณ์ราชนิเวศน์ เมืองลพบุรี) หรือมิฉะนั้นท้องพระโรงก็อาจเป็นโครงสร้างหลักของพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ ซึ่งอาจมียอดทรงมณฑป หรือไม่มียอดทรงมณฑปก็เป็นได้
จากปัญหาที่ประสบข้างต้น รูปวิเคราะห์ประกอบการสันนิษฐานลักษณะโครงสร้างส่วนบนของท้องพระโรงพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ จึงถูกเสนอเป็นสองแบบ คือ
1.       ท้องพระโรงหลังคาลดชั้น 3 ชั้น ยอดมณฑป
2.       ท้องพระโรงหลังคาลดชั้น 3 ชั้น ไม่มียอดมณฑป

รูปวิเคราะห์แบบที่ 1 (ยอดมณฑป)
แสดงลักษณะของหลังคาลดชั้น 3 ชั้น เครื่องมีช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ บัวหัวเสาเป็นบัวแวงหรือบัวกลีบยาวแบบอยุธยาตอนปลาย ผนังมีคันทวยรองรับส่วนชายคา ประตูและหน้าต่างด้านตะวันออกและตะวันตกเป็นช่องโค้ง โดยยึดถือรูปแบบมาจากพระที่นั่งดุสิตสวรรย์ธัญมหาปราสาท
กระเบื้องมุงหลังคาของพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ เป็นกระเบื้องลูกฟูกตัวผู้-เมียเคลือบสีเหลืองแบบ Imnperial Yellow ตามปริมาณที่พบจากการขุดแต่งโบราณสถานแห่งนี้ สำหรับกระเบื้องเคลือบสีเหลืองแบบ Local Yellow Tiles ที่พบมากเป็นอันดับสองรองจากกระเบื้องเคลือบสีเหลืองแบบ Imnperial Yellow Tiles นั้น ไม่ปรากฏหลักฐาน เอกสารระบุว่าเป็นวัสดุที่ใช้ในช่วงเวลาก่อน-หลัง-หรือเวลาเดียวกัน จึงไม่สามารถอธิบายได้ในชั้นนี้
กระเบื้องเชิงชายของท้องพระโรงพระที่นั่งสุทธาสวรรย์มีลักษณะเป็นรูปคล้ายกระจังสามยอด มีทั้งเนื้อแกร่ง แบบกระเบื้องเคลือบสีเหลืองแบบ Imperial Yellow และแบบเนื้อดินธรรมดา (Earthenware) เคลือบสีเหลืองแบบพื้น เมือง ซึ่งหากยึดหลักการสันนิษฐานแบบอธิบายด้วยเหตุผลและบริบททางประวัติศาสตร์ เปรียบเทียบกับการได้รับอิทธิพลการทำเครื่องปั้นดินเผาแบบเคลือบผิวจากจีนแล้ว ก็น่าเชื่อว่าการทำกระเบื้องเชิงชายทรงกระจัง 3 ยอด และกระเบื้องมุงหลังคาเคลือบผิวสีเหลืองแบบท้องถิ่น อาจถูกทำขึ้นในสมัยหลังสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ดังปรากฎหลักฐานการผลิตกระเบื้องเคลือบผิวสีเหลืองในสมัยสมเด็จพระเพทราชา (พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา เล่ม 2, อ้างแล้ว, หน้า 72)
ลักษณะยอดมณฑปลดชั้น 7 ชั้น ซึ่งแสดงในแบบรูปวิเคราะห์นี้ประยุกต์ขึ้นมาแบบยอดมณฑปของพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทในพระบรมมหาราชวังที่กรุงเทพฯ ผสมผสานกับมณฑปสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมที่พระพุทธบาท จ.สระบุรี
รูปวิเคราะห์แบบที่ 2 (ไม่มียอดทรงมณฑป)
แสดงลักษณะท้องพระโรงมีหลังคาลดชั้น 3 ชั้น ไม่มียอดทรงมณฑป ส่วนองค์ประกอบอื่นๆนั้น มีรายละเอียดเช่นเดียวกับรูปวิเคราะห์แบบที่ 1

ผลการขุดค้นในหลุมทดสอบ 1S 3W
ระดับ
ลักษณะดิน
โบราณวัตถุ

30 – 50 cm.dt. พบพื้นปูอิฐใน NE. Section, SW. Section, และ NW. Sec-tion (ยกเว้น SEQ)



50 – 70 cm.dt (ขุดเฉพาะ SEQ)

70 – 90 cm.dt. (SEQ)

90 – 110 cm.dt. (SEQ)

110 – 130 cm.dt. (SEQ)




130 – 140 cm.dt. (SEQ)



140 – 150 cm.dt. (SEQ)




150 – 160 cm.dt. (SEQ)











160 – 170 cm.dt. (SEQ)









170 – 180 cm.dt. (SEQ)



180 – 190 cm.dt. (SEQ)









190 – 200 cm.dt. (SEQ)







200 – 210 cm.dt. (SEQ)




210 – 220 cm.dt. (SEQ)















220 – 230 cm.dt. (SEQ)









230 – 240 cm.dt. (SEQ)











240 – 250 cm.dt. (SEQ)












250 – 270 cm.dt. (SEQ)






270 – 290 cm.dt. (SEQ)

ร่วนปนทรายและเม็ดกรวดดินมีสีน้ำตาลปนเทามีเศษอิฐหัก เศษกระเบื้องปะปน พบสายไฟขนาดเล็กเป็นฝอยปะปนอยู่ในชั้นดินเป็นจำนวนมาก


ดินร่วนปนทรายหยาบ มีกากปูนและอิฐหักปะปน

ดินร่วนปนทรายสีน้ำตาลเหลือง

ทรายร่วนสีน้ำตาลปนดำแกมเหลือง

ทรายร่วนสีน้ำตาลปนดำแกมเหลือง อมเทาเป็นแถบ



ทรายร่วนสีเหลืองอมน้ำตาล มีเม็ดกรวดปน มีดินเหนียวสีขาวอมเทา (ดินมันปู) แทรกเป็นแถบ

ทรายร่วนสีน้ำตาลปนเหลืองอมเทา




ทรายร่วนสีน้ำตาลปนเหลือง











ทรายร่วน ค่อนข้างหยาบสีน้ำตาลปนเหลือง มีแถบดินมันปูแทรก








ทรายร่วนสีน้ำตาลปนเหลืองอมเทา ค่อนข้างละเอียด


ทรายร่วนปนเหนียวสีน้ำตาลปนเหลืองอมเทา








ทรายร่วน สีน้ำตาลปนเหนียวอมเทา






ดินร่วนปนทรายสีน้ำตาลปนเหลือง
อมเทา



ดินร่วนปนทรายสีน้ำตาลปนดำ















ดินร่วนปนทราย มีเศษถ่านปะปน









ดินร่วนปนทราย มีเศษถ่านปะปน











ดินร่วนปนทราย












ดินร่วนปนทรายเหนียว มีดินถูกเผาไฟและเศษถ่านปะปน





ดินร่วนปนทรายเหนียว มีเศษถ่านปะปนเล็กน้อย

-เศษเครื่องเคลือบดินเผา สีเขียวอมฟ้า
-เศษกระเบื้องมุงหลังคาแบบลูกฟูกและเกร็ดเต่า
-เศษภาชนะดินเผาลายสลับฟันปลา ขุดร่อง ด้านล่าง
-ขอบปากหม้อดินเผา ทรงผายออก
-หูภาชนะดินเผาขนาดเล็ก (กระปุกดินเผา)
-ก้นไหเท้าช้างเนื้อเครื่องหิน (เตาแม่น้ำน้อย)

-ไม่พบ


-ไม่พบ

-Earthenware 1 ชิ้น

พบเศษภาชนะกินเผาเล็กน้อย
-คอภาชนะดินเผาแบบไห Stoneware สีเทา (เตาแม่น้ำน้อย)
-ภาชนะเนื้อหนาสีเทา (เตาบ้านบางปูน)

พบเศษภาชนะดินเผาเล็กน้อบ
-เศษก้นชามเคลือบ Blue and White


พบเศษภาชนะดินเผาเล็กน้อย
-ก้นชามเคลือบ Blue and White
-กระดูกสัตว์กินพืช
-ตะปูตะปลิง 1 ชิ้น

พบเศษภาชนะดินเผาเล็กน้อย
-ลายสลับฟันปลา
-ลายขูดเป็นร่องรอบไหล่ 4 ร่อง
-เคลือบขาวขุ่นเขียวสีน้ำตาลอมดำใต้เคลือบเนื้อ Stoneware
-ปากหม้อดินเผาผายออก เคลือบน้ำดินสีแดงเนื้อบาง Earthenware
-ชิ้นส่วนฝาละมี, ตะคันดินเผา
-ก้นชามเคลือบ Blue and White
-ชิ้นส่วนกระเบื้องมุงหลังคาชิ้นเล็กๆ
-ชิ้นส่วนไหเนื้อ Stoneware สีเทา (เตาแม่น้ำน้อย)

พบเศษภาชนะดินเผาเล็กน้อย
-ชิ้นส่วนไห Stoneware เนื้อหนาสีเทา
-ชิ้นส่วนโอ่ง Stoneware เนื้อหนาผิวสีส้ม
-ชิ้นส่วนฝาภาชนะน้ำเคลือบสีน้ำตาลคล้ายเครื่องถ้วยลพบุรี (เตาแม่น้ำน้อย)
เศษหม้อลายขูดขีดตัดกันเป็นตารางสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน
-ชิ้นส่วนเครื่องเคลือบ Blue and White
-ชิ้นส่วนเครื่องเคลือบสีเขียวแบบเตาศรีสัชนาลัย

พบเศษภาชนะดินเผาเล็กน้อย
-ปากภาชนะเคลือบน้ำดินสีส้ม เนื้อบางผิวละเอียด
-ชิ้นส่วนกระเบื้องมุงหลังคาชิ้นเล็กๆ

พบเศษภาชนะดินเผาเล็กน้อย
-ปากหม้อดินเผาผายออก เนื้อบางผิวสีส้ม
-เศษหม้อลายสลับฟันปลา
-เศษหม้อลายขูดขีด
-ปากกระปุกเนื้อบางสีเทา (ค่อนข้างแกร่ง)
-ไหล่ภาชนะขูดเป็นร่องรอบๆ
-ก้นอ่างเคลือบด้านในสีน้ำตาลอมเหลืองคล้ายเครื่องถ้วยลพบุรี (เตาแม่น้ำน้อย)
-ชิ้นส่วนเครื่องเคลือบสีเทาอมฟ้า เตาศรีสัชนาลัย

พบเศษภาชนะดินเผาเล็กน้อย
-เศษเครื่องเคลือบสีขาวขุ่นชิ้นเล็กๆ
-ก้นครก Stoneware ลายเม็ดพริก คล้ายเตาบ้านบางปูน จ.สุพรรณบุรี
-เศษหม้อลายสลับฟันปลา
-จุกภาชนะดินเผา
-ลายขูดขีดติดกัน เป็นสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน

-พบเศษภาชนะดินเผาลายขูดขีดตัดกันเป็นตารางเล็กน้อย
-เปลือกหอยแครง หอยขม หอยทราย หนักรวมกัน 1.5 กิโลกรัม

-พบชั้นอิฐปูหนาเพียงก้อนเดียว ที่ระดับ 217 cm.dt. เป็นอิฐขนาดเล็กคล้ายกับอิฐก่อเจดีย์สมัยอยุธยา (ขนาด 3.7 x 5.4 x ประมาณ 20 ซ.ม.) พบว่าใต้ชั้นอิฐเป็นกองหอยขม หอยแครง มีเศษภาชนะดินเผาปะปนในชั้นดินล่าง จึงรื้อแผ่นอิฐออกไป
-เศษเครื่องเคลือบสีเขียวอมฟ้า มีลายนูนเป็นกลีบที่รอบก้น (เตาศรีสัชนาลัย)
-เศษภาชนะมีร่องรอบคอ,ลายสลับฟันปลา ลายขูดเป็นร่องคล้ายสามเหลี่ยมซ้อนกัน
-ลายตัดกันเป็นตาราง,ลายไผ่สานเป็นร่อง
-Stoneware ลายดอกพิกุลสี่กลีบ มีลูกคลื่นด้านล่าง (เตาแม่น้ำน้อย)
-เคลือบน้ำดิน ผิวเรียบ ค่อนข้างแกร่ง
-เบี้ยจั่น 5 ตัว
-น้ำหนักเศษภาชนะดินเผา รวม 1.9 กิโลกรัม

พบเศษภาชนะดินเผาค่อนข้างหนาแน่นกว่าระดับที่ผ่านมา (รวม 2,500 กรัม)
-เศษภาชนะดินเผาแบบ Earthenware เคลือบน้ำดินสีดำทำลวดลายรอบคอเป็นหยัก, ลายขูดขีด, สลับฟันปลา, ฝาภาชนะ, ตะคันดินเผา
-Stoneware ประทับลายดอกพิกุลรอบคอ (เตาแม่น้ำน้อย)
-เศษกระเบื้องมุงหลังคาลูกฟูกตัวเมีย
-เศษเครื่องเคลือบสีขาวขุ่นเขียนลายดำ

พบเศษภาชนะดินเผาและเปลือกหอยแครง หอยขม
-เคลือบขาวเขียนสีดำ
-เคลือบขาวเขียนสีน้ำเงินอมเขียว
-เคลือบเขียวแบบศรีสัชนาลัย
-เคลือบขาวอมเขียว เนื้อดินหยาบ (เวียดนาม)
-เคลือบขาวขุ่นจีน
-เคลือบขาวเขียนลายสีแดงในช่องกระจก (หมิงปลาย)
-Earthenware ลายตัดกัน, ลายสลับฟันปลา, ร่องไขว้, ไผ่สาน
-ชิ้นส่วนกระเบื้องมุงหลังคา เนื้อบาง
-เคลือบน้ำดินแดงเขียนลายดำ เนื้อบาง (เตาสุโขทัย)

เศษภาชนะดินเผา กระดูกสัตว์ เปลือกหอย
-เศษภาชนะเคลือบน้ำดินสีแดง เขียนลายสีดำรอบคอคล้ายระดับ 210 – 220 cm.dt. (เตาสุโขทัย)
-ชิ้นส่วนกระเบื้องลูกฟูกเนื้อบาง
-ชิ้นส่วนไหเท้าช้าง, Stoneware ลายลูกคลื่นรอบคอ, ลายดอกไม้สี่กลีบ (เตาวัดพระปรางค์หรือเตาแม่น้ำน้อย)
-ฝาละมี
-Earthenware ลายไผ่สาน, ลายขูดขีด, ลายสลับฟันปลาแบบต่างๆ
-ชิ้นส่วนเครื่องเคลือบสีเขียวแบบศรีสัชนาลัย
-รวมเศษภาชนะดินเผา หนัก 6.2 กิโลกรัม

-เปลือกหอยแครง หอยขม
-เศษกระเบื้องมุงหลังคา 1 ชิ้น
-เศษภาชนะดินเผา Earthenware ลายสลับฟันปลาแบบต่างๆ, ลายตีคล้ายไผ่สาน
-Stoneware ลายสลับฟันปลา (เศษภาชนะดินเผาหนักรวม 1.75 กิโลกรัม)

-Earthenware ลายสลับฟันปลาแบบต่างๆ, ลายขีดเป็นตาราง, ลายสี่เหลี่ยม
-Stoneware เคลือบสีน้ำตาลไหม้อมดำลายลูกคลื่น
-ชิ้นส่วนกระเบื้องมุงหลังคาแบบตัวเมียตะขอ(เดือย) แบนหนา ก่อนสมัยพระนารายณ์ซึ่งมีเดือยกลม
-เคลือบ Blue and White
-ฝาหม้อแบบฝาละมี


            ระหว่างการขยายหลุมขุดค้นในตอนท้าย ได้รื้อชั้นอิฐระดับ 54 – 60 cm.dt. ที่ปูใน NEQ,SWQ และ NWQ ออกไป พบว่าเป็นชั้นอิฐเรียงซ้อนเพียง 2 ชั้น อิฐมีขนาด 38 x 19 x 6 เซนติเมตร อิฐบางก้อนเป็นอิฐชำรุด อิฐเรียงตามแนวตะวันออก ตะวันตก การขุดค้นในระหว่างขยายพื้นที่หลุมชน เนื่องมาจากปัญหาผนังหลุมทรุดพังไม่พบโบราณวัตถุแต่อย่างใด


การศึกษาชั้นดินทางโบราณคดี
            ผลจากการขุดค้นในหลุมทดสอบ 1S 3W ทำให้ทราบว่า ชั้นดินในหลุมขุดค้นตั้งแต่ระดับ 30 cm.dt. ถึงประ-มาณ 210 cm.dt. อาจเป็นชั้นดินถมใหม่ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ระหว่างมีการเตรียมปรับพื้นพระราชฐานชั้นที่ 3 เพื่อรองรับฐานรากของพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ เราจะสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน จากกรณีที่มีการนำทรายหยาบและทรายละเอียดมาบดอัดสลับกันรองรับบริเวณโดยรอบ ไม่ห่างไกลจากรากฐานและฐานรากพระที่นั่งเท่าใดนัก ทรายบดอัดบางส่วนมีชั้นดินเหนียวสีเทาแกมขาวแทรกอยู่เป็นช่วงๆ แลเห็นโดดเด่นตัดกับชั้นทราย
            ชั้นดินธรรมชาติในพื้นที่นี้ ก่อนสมัยสมเด็จพระนารายณ์อาจอยู่ในระดับ 200 – 210 cm.dt. ดังจะสังเกตว่า มีการพบชิ้นส่วนกระเบื้องมุงหลังคาแบบลูกฟูกมีเดือยแบบหนา ต่อออกมาจากขอบชายกระเบื้องด้านบน แทนที่จะเป็นเดือยซึ่งยื่นออกมาจากท้องกระเบื้องด้านล่างตามปกติในยุคหลังๆ
            แม้จะพบโบราณวัตถุในชั้นดินตั้งแต่ 30 -210 cm.dt. อันเป็นชั้นดินถมหรือทรายอัด แต่ก็เป็นการพบแบบไม่หนาแน่น แสดงให้เห็นถึงการปะปนมากับชั้นดินในช่วงที่มีกิจกรรมปรับพื้นที่พระราชฐานชั้นที่ 3 หลักฐานโบราณวัตถุที่พบในชั้นดินลึกกว่า 210 cm.dt. จึงเป็นสิ่งบ่งชี้ให้เห็นถึงเรื่องราวการอยู่อาศัยของคนในพื้นที่นี้ ก่อนจะมีการสร้างพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ และกำหนดอายุในราวก่อนรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์เป็นอย่างน้อย
            หลักฐานการขุดตรวจชั้นดินในหลุม 1S 3W มีความสอดคล้องกับชั้นดินในหลุม 5N 4W (ส่วนท้องพระโรงที่ประทับ) เราได้พบชั้นทรายบดอัดเพื่อรองรับน้ำหนัก กันการเลื่อนและทรุดพังของฐานรากพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ อย่างน้อยก็อยู่ที่ระดับ 200 เซนติเมตร ลงไปพื้นอิฐของท้องพระโรง ซึ่งนาเชื่อว่าการบดอัดทรายลงไปในฐานรากอาจลึกถึง 3.50 เมตร (จากพื้นท้องพระโรง) ชั้นทรายอัดล่างสุดของฐานรากส่วนท้องพระโรงจึงจะอยู่ระดับเดียวกับชั้นทรายในหลุม 1S 3W
            เทคนิคการใช้ทรายบดอัดรองรับน้ำหนักอาคารและกันการเลื่อนไถล ทรุดพัง เป็นภูมิความรู้ที่นิยมใช้กันมาตั้งแต่สมัยลพบุรี โดยมีหลักฐานให้เห็นจากหลุมทดสอบชั้นดินทางโบราณคดีที่โบราณสถานพระปรางค์สามยอด การใช้ทรายบดอัดรองรับฐานราก (แทนที่จะใช้ดินเหนียวเช่นเดียวกับอยุธยา) อันสืบทอดมาจนถึงรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ (อย่างน้อยก็ในพระราชวังนารายณ์นิเวศน์) จะทำให้สามารถอธิบายในประเด็นของการสืบทอดทางเทคโนโลยีและวัฒน-ธรรมของกลุ่มชนในบริเวณนี้อย่างไม่ขาดตอนสูญหายไปเลยได้หรือไม่ นั่นคือกลุ่มคนที่สร้างพระปรางค์สามยอดก็คือกลุ่มคนเชื้อสายเดียวกันกับไพร่ที่ถูกเกณฑ์มาเป็นแรงงานในการก่อพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ แต่ความคิดนี้อาจถูกโต้แย้งได้ในเรื่องสภาพภูมิประเทศของลพบุรี เพราะดินเหนียวอาจหายากกว่าทรายก็ได้ ดังนั้นจึงควรประมวลข้อมูลหลักฐานจากโบราณสถานหลายๆแห่งมาพิจารณาประกอบกัน




เศษภาชนะดินเผาที่พบจากการขุดค้นหลุม 1S 3W
            เศษภาชนะดินเผาที่พบจากการขุดค้นหลุม 1S 3W แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ Earthenware, Stoneware และ Porcelain ในที่นี้จะเสนอผลการศึกษาโบราณวัตถุดังกล่าวทีละระดับรวมกัน เพื่อช่วยให้แลเห็นภาพรวมการแพร่ กระจายเศษภาชนะดินเผาในแต่ละระดับของชั้นดินในหลุมขุดค้น
ระดับ 30 – 50 cm.dt. พบเศษภาชนะดินเผาเล็กน้อย จำแนกเป็น
                Earthenware
            -เศษหม้อลายสลับฟันปลาขูดร่องด้านล่าง ขอบปากหม้อคอสูง ปากผายออก
            -หูกระปุกดินเผา จัดเป็นเศษภาชนะจากแหล่งพื้นเมืองในเขตเมืองลพบุรี
            Stoneware
            -ชิ้นส่วนก้นไหเท้าช้างเคลือบผิวสีน้ำตาลปนดำ จากเตาแม่น้ำน้อย จังหวัดสิงห์บุรี
            Porcelain
            -ไม่พบ
ระดับ 50 – 70 cm.dt. ไม่พบเศษภาชนะดินเผา
ระดับ 70 – 90 cm.dt. ไม่พบเศษภาชนะดินเผา
ระดับ 90 – 110 cm.dt. พบเศษภาชนะดินเผา 1 ชิ้น
            Earthenware
            -เศษภาชนะดินเผาไม่มีลาย 1 ชิ้น
            Stoneware
            -ไม่พบ
            Porcelain
            -ไม่พบ



ระดับ 110 – 130 cm.dt. พบเศษภาชนะดินเผาเล็กน้อย ( 95 กรัม )
                Earthenware
            -ไม่พบ
            Stoneware
            -พบชิ้นส่วนคอของภาชนะเนื้อหนาประเภทไหเท้าช้าง จากแหล่งเตาวัดพระปรางค์ (เตาแม่น้ำน้อย)
            -ชิ้นส่วนไหไม่มีลายจากเตาบ้านบางปูน
            Porcelain
            -ไม่พบ
ระดับ 130 – 140 cm.dt. พบเศษภาชนะดินเผาเล็กน้อย ( 100 กรัม )
                Earthenware
            -เศษหม้อดินเผาลายขูดขีดตัดกันไปมาไม่เป็นระบบ 2 – 3 ชิ้น
            Stoneware
            -ไม่พบ
            Porcelain
            -ชิ้นส่วนก้นชามเคลือบแบบ Blue and White สมัยราชวงศ์หมิง (ลายใบไม้ดอกไม้)
ระดับ 140 – 150 cm.dt. พบเศษภาชนะดินเผาเล็กน้อย ( 120 กรัม )
                Earthenware
            -เศษหม้อดินเผาลายสลับฟันปลา
            -เศษหม้อลายขูดขีดตัดกันไปมา และลายสลับฟันปลาคั่นร่อง
            -เศษหม้อขูดเป็นร่องขนาดใหญ่ดิ่งลงเป็นทางรอบไหล่
            Stoneware
            -ไม่พบ
           
Porcelain
            -ก้นชามแบบ Blue and White ลายใบไม้ สมัยราชวงศ์หมิง
ระดับ 150 – 160 cm.dt. พบเศษภาชนะดินเผาเล็กน้อย (300 กรัม)
                Earthenware
            -เศษหม้อลายสลับฟันปลา ขอบปากหม้อผายออก เคลือบผิวด้วยน้ำดินสีแดง เนื้อบาง
            -ชิ้นส่วนฝาหม้อแบบฝาละมี (ฝาแอ่นหงายจุดบน)
            -ตะคันดินเผาก้นตัด เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4.5 ซ.ม.
            -เศษหม้อขูดลายเป็นร่องรอบๆไหล่ 4 ร่อง
            Stoneware
            -เศษเครื่องถ้วย เคลือบผิวสีขาวขุ่น เขียนลายสีน้ำตาลอมดำใต้เคลือบ เตาสุโขทัย
            ชิ้นส่วนไหผิวสีดำอมเทา ไมมีลาย เตาแม่น้ำน้อย
            Porcelain
            -ไม่พบ
ระดับ 160 – 170 cm.dt. พบเศษภาชนะดินเผาเล็กน้อย ( 350 กรัม )
                Earthenware
            -เศษหม้อดินเผาลายขูดขีดตัดกันเป็นตารางสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน
            -จุกภาชนะ (ชิ้นส่วนฝาภาชนะแบบฝาละมีจุกบน)
            Stoneware
            -ชิ้นส่วนไหเนื้อหนา ผิวสีเทาอมดำ ขูดลายลูกคลื่นซ้อนกัน 3 ลายใต้คอ แบบภาชนะเตาแม่น้ำน้อย
            -ชิ้นส่วนโอ่งดินเผาเนื้อหนา ผิวสีส้มแบบเตาแม่น้ำน้อย
            -ชิ้นส่วนฝาภาชนะเคลือบผิวสีน้ำตาลแบบเตาแม่น้ำน้อย
            -ชิ้นส่วนเครื่องเคลือบสีเขียว (ชาม) แบบเตาศรีสัชนาลัย
            Porcelain
            -เศษชามแบบ Blue and White 3 ชิ้น สมัยราชวงศ์หมิง
ระดับ 170 – 180 cm.dt. พบเศษภาชนะดินเผาเล็กน้อย ( 300 กรัม ) 
                Earthenware
            -เศษขอบปากหม้อเคลือบน้ำดินสีแดง เนื้อบาง ผิวละเอียด
            -เศษหม้อดินเผาไม่มีลายชิ้นเล็กๆ
            Stoneware
            -ไม่พบ
            Porcelain
            -ไม่พบ
ระดับ 180 – 190 cm.dt. พบเศษภาชนะดินเผาเล็กน้อย ( 470 กรัม )
                Earthenware
            -ขอบปากหม้อดินเผา ทรงสูงผายออก เนื้อบาง ผิวสีส้ม
            -เศษหม้อลายสลับฟันปลา
            -เศษหม้อลายขูดขีดตัดกันไปมา
            Stoneware
            -ขอบปากกระปุก เนื้อบาง สีเทา ไม่เคลือบผิว แบบเตาแม่น้ำน้อย
            -ก้นอ่างเคลือบผิวด้านในสีน้ำตาลอมเหลือง เตาแม่น้ำน้อย
            -ชิ้นส่วนชามเคลือบสีเทาอมฟ้า แบบเตาศรีสัชนาลัย
            Porcelain
            -ไม่พบ


ระดับ 190 – 200 cm.dt. พบเศษภาชนะดินเผาเล็กน้อย ( 500 กรัม )
                Earthenware
            -ชิ้นส่วนฝาจุกภาชนะดินเผา
            -เศษหม้อดินเผาลายขูดขีดตัดกันไปมาเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน
            Stoneware
            -เศษถ้วยเคลือบสีขาวขุ่นขนาดเล็ก จำแนกไม่ได้ว่ามาจากแหล่งใด
            -ชิ้นส่วนก้นครกดินเผาเนื้อหนาคล้ายเตาแม่น้ำน้อย
            -ชิ้นส่วนไหดินเผา เนื้อหนา ลายพวงอุบะ ( ลายคล้ายพู่หรือเม็ดพริก ) เตาบ้านบางปูน
            Porcelain
            -ไม่พบ
ระดับ 200 – 210 cm.dt. พบเศษภาชนะดินเผาเล็กน้อย ( 1,900 กรัม )
                Earthenware
            -เศษหม้อลายสลับฟันปลา
            -เศษหม้อลายขูดเป็นร่องคล้ายรูปสามเหลี่ยมซ้อนกัน
            -เศษหม้อขูดขีดเป็นตาราง
            -เศษหม้อทำลวดลายคล้ายไผ่สานทาบ
            -เศษหม้อมีลายเป็นร่องรอบคอ
            -ฝาภาชนะดินเผา
            -เศษคณฑีหรือป้านน้ำ เคลือบน้ำดินสีแดงเขียนลายสีดำ เตาสุโขทัย
            Stoneware
            -ชิ้นส่วนชามเคลือบสีเขียวอมฟ้ามีลายนูนรูปกลีบบัวที่ก้น จากแหล่งเตาศรีสัชนาลัย
            -ชิ้นส่วนไหเนื้อหนา ผิวสีเทา
            -ชิ้นส่วนไหเนื้อหนา ประดับลายดอกไม้ 4 กลีบ (คล้ายดอกลำดวน) ใต้ลายลูกคลื่น
            -ชิ้นส่วนอ่างดินเผา เนื้อค่อนข้างแกร่ง เคลือบน้ำดินสีแดง
            Porcelain
            -ไม่พบ
ระดับ 220 – 230 cm.dt. พบเศษภาชนะดินเผาทับถมหนาแน่น ( 2,500 กรัม )
                Earthenware
            -เศษขอบปากหม้อแบบโค้งผายออก มีลายกดหรือขีดเป็นเส้นหยักสั้นๆรอบคอ เคลือบผิวด้วยน้ำดินสีดำ
             ไม่ค่อยพบบ่อยนัก
            -เศษหม้อเนื้อหนา ค่อนข้างแกร่ง มีลายขูดเป็นร่อง 3 ร่องรอบตัว
            -เศษหม้อลายสลับฟันปลา
            -เศษหม้อลายขูดคล้ายไผ่สานทาบ
            -เศษหม้อขูดเป็นลายรูปสามเหลี่ยมซ้อนกัน
            -เศษฝาหม้อดินเผา
            -จุกฝาหม้อยอดแหลม
            -ชิ้นส่วนตะคันดินเผา แบบก้นตัด เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4.5 ซ.ม.
            Stoneware
            -ชิ้นส่วนไหเนื้อหนา ผิวสีเทา ประดับลายดอกพิกุลหรือดอกลำดวน (รางเลือน) รอบคอแบบเตาบ้านบางปูน
            -ชิ้นส่วนไหเนื้อหนาแบบเตาแม่น้ำน้อย
            -เศษชามเคลือบผิวสีเขียวอมน้ำตาล เตาศรีสัชนาลัย
            -เศษชามเคลือบผิวสีขาวขุ่น เขียนลายสีดำแบบเวียดนาม
            -เศษชามเคลือบผิวสีเขียว ขอบปากหยักแบบใบบัว เตาหลงฉวน ประมาณพุทธศตวรรษที่ 19 – 20
            Porcelain
            -ไม่พบ

ระดับ 230 – 240 cm.dt. พบเศษภาชนะดินเผาค่อนข้างหนาแน่น ( 4,200 กรัม )
                Earthenware
            -เศษหม้อลายขูดขีดตัดกันไปมาไม่เป็นระบบ
            -เศษหม้อลายประทับรูปสามเหลี่ยมซ้อนกัน
            -เศษหม้อลายตีตัดกัน มีปุ่มรอบคอ
            -เศษหม้อร่องไขว้ตัดกัน
            -เศษหม้อลายไผ่สาน
            -เศษหม้อลายสลับฟันปลา
            -ชิ้นส่วนคณฑีหรือป้านน้ำ เคลือบน้ำดินสีแดง เขียนลายสีดำเป็นเส้นรอบตัว (คล้ายแหล่งเตาสุโขทัย)
            Stoneware
            -เศษชามเคลือบสีขาว เขียนลายสีดำหรือน้ำเงินอมเขียว เตาสุโขทัย
            -เศษชามเคลือบสีขาวขุ่น เขียนลายสีดำ แหล่งเตาสุโขทัย
            -เศษชามเคลือบสีขาวอมเขียวเนื้อดินหยาบ (คล้ายแหล่งเตาในเวียดนาม)
            -เศษชามเคลือบผิวสีเขียวอมฟ้า แบบเตาศรีสัชนาลัย
            -ชิ้นส่วนไหปากกว้าง เนื้อหนา เตาแม่น้ำน้อย
            Porcelain
            -เศษชามเคลือบผิวสีขาว เขียนลายสีแดงในช่องกระจก สมัยราชวงศ์หมิงตอนปลาย (พบเพียงชิ้นเดียว)
ระดับ 240 – 250 cm.dt. พบเศษภาชนะดินเผาหนาแน่น ( 6,200 กรัม )
                Earthenware
            -ชิ้นส่วนฝาหม้อ แบบแอ่นหงายมีจุก (ฝาละมี)
            -เศษหม้อลายสลับฟันปลา แบบร่องคั่น
            -เศษหม้อลายร่องตัดกันคล้ายรปทรงเราขาคณิต
            -เศษหม้อประทับลายคล้ายไผ่สานทาบ
            -ชิ้นส่วนป้านน้ำหรือคณฑี เนื้อบาง เคลือบน้ำดินสีแดง เขียนลายสีดำเป็นเส้นรอบภาชนะซ้อนกัน ลักษณะ
             คล้ายเศษภาชนะที่พบในระดับ 210 -220 cm.dt.
            Stoneware
            -เศษไหเนื้อหนา ประทับลายดอกไม้สี่กลีบ
            -ชิ้นส่วนไหขีดลายวงแหวนรอบคอ
            -ชิ้นส่วนไหหรืออ่าง มีลายลูกคลื่นซ้อนกันรอบคอ
            -ชิ้นส่วนไหหรืออ่าง มีร่องนูนสลับการกดด้วยเปลือกหอยแครง
            -ชิ้นส่วนไหเท้าช้าง
            -เศษชามเคลือบสีเขียว มีรอยแตกราน 1 ชิ้น เตาศรีสัชนาลัย
            -เศษชามเคลือบเขียวอมเทา เขียนลายสีเขียวอมน้ำตาล เตาสันกำแพง 1 ชิ้น
            -เศษชามเคลือบเขียวมีลายใบไม้ในเนื้อภาชนะ เตาศรีสัชนาลัย
            Porcelain
            -ไม่พบ
ระดับ 250 – 270 cm.dt. พบเศษภาชนะดินเผา ( 1,750 กรัม )
                Earthenware
            -เศษหม้อลายสลับฟันปลา
            -เศษหม้อลายประทับคล้ายไผ่สานทาบ
            -เศษหม้อผิวเรียบ สีส้ม เนื้อบาง
            Stoneware
            -ชิ้นส่วนไหเนื้อหนา ลายสลับฟันปลา
            -ชิ้นส่วนเครื่องถ้วยเคลือบ เตาศรีสัชนาลัย
            Porcelain
            -ไม่พบ
ระดับ 270 – 290 cm.dt. พบเศษภาชนะดินเผาหนาแน่น ( 4,800 กรัม )
                Earthenware
            -ชิ้นส่วนฝาหม้อมีจุกกลมมนแบบฝาละมี
            -เศษหม้อลายสลับฟันปลา
            -เศษหม้อประทับลายคล้ายไผ่สานทาบเป็นร่อง
            -เศษหม้อขูดขีดตัดกันเป็นตารางสี่เหลี่ยม
            -เศษหม้อขูดลายเป็นร่องรอบคอ
            -เศษหม้อประทับลายรูปสามเหลี่ยมระหว่างร่องลึก
            -เศษหม้อลายลูกคลื่นซ้อนกันคล้ายที่พบใน Stoneware
            Stoneware
            -ชิ้นส่วนไหปากกว้างประทับลายกลีบดอกไม้รอบๆปาก คล้ายกลีบบัว เตาแม่น้ำน้อย
            -ชิ้นส่วนไหลายลูกคลื่นซ้อนกันใต้แนวร่องนูน เตาแม่น้ำน้อย
            Porcelain
            -ไม่พบ
บทสรุปและข้อเสนอในการออกแบบบูรณะ
ที่ตั้ง พระที่นั่งสุทธาสวรรย์

หลักฐานจากเอกสารหลายชิ้น อาทิ พระราชพงศาวดารฉบับต่างๆ คำให้การของขุนหลวงหาวัด คำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม บันทึกของชาวต่างชาติร่วมสมัยสมเด็จพระนารายณ์ แผนผังจากการสำรวจของวิศวกรต่างชาติในขณะนั้น และแผนผังพระนารายณ์ราชนิเวศน์เมืองลพบุรี จากการสำรวจของพระยาโบราณธานินทร์ รวมทั้งหลักฐานที่พบจากการขุดแต่งพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ เป็นสิ่งที่ช่วยให้แลเห็นลักษณะและองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมของรากฐานอาคารแห่งนี้ได้อย่างค่อนข้างชัดเจนว่า เคยเป็นพระมหาปราสาทหลักคาทรงมณฑปยอดเดียว มีมุขซ้อนสี่ชั้น มีผนังทั้งสี่ด้าน มีพระปรัศว์ซ้ายขวาชักออกไปทางเหนือและใต้ มีกำแพงแก้ว กำแพงปีกท้องพระโรง และอ่างน้ำขนาดใหญ่ เป็นที่สรงสนาน แต่ปัญหาก็คือ ลักษณะสถาปัตยกรรมซึ่งมีหลังคาเป็นทรงมณฑปมักจะมีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีมุขยื่นออกมาทั้งสี่ด้าน ขณะที่พระที่นั่งสุทธาสวรรย์มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ดังนั้นผังวิเคราะห์รูปทรงสัณนิษฐานของพระที่นั่งสุทธาสวรรย์จึงเสนอเป็น 2 รูปแบบ คือ แบบที่มียอดมณฑปและไม่มียอดมณฑป
            รากฐานพระที่นั่งสุทธาสวรรย์นั้นมีขนาดใหญ่กว่าพระที่นั่งดุสิตสวรรย์ธัญมหาปราสาท ซึ่งเป็นพระมหาปราสาทยอดมณฑปอีกแห่งหนึ่งในพระราชวังเมืองลพบุรี แต่จากการเปรียบเทียบได้พบว่า เสาติดผนังของพระที่นั่งทั้งสองมีขนาดกว้างเท่ากัน ดังนั้นหลักฐานจุดนี้อาจชี้ได้ว่าความสูงของพระที่นั่งสุทธา-สวรรย์กับพระที่นั่งดุสิตสวรรย์ธัญมหาปราสาทคงจะมีขนาดใกล้เคียงกันด้วย และหากคำนึงถึงความเหมาะสมทางภูมิประเทศในพระราชฐานชั้นที่ 3 ซึ่งลดระดับต่ำลงไปกว่าพื้นดินที่รองรับพระที่นั่งดุสิต-สวรรย์ธัญมหาปราสาทแล้ว ระดับน้ำสมมติของหลังคาพระที่นั่งทั้งสององค์น่าจะเท่ากันได้เพื่อทัศนียภาพที่งดงาม
            การพบหลักฐานชิ้นส่วนกระเบื้องเคลือบแบบสีเหลืองจักรพรรดิ บริเวณใต้แนวฐานเขียงและลวดบัว ระหว่างพระปรัศว์ซ้ายกับรากฐานระเบียงพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ ชี้ให้เห็นว่าเมื่อแรกสถาปนาในปี พ.ศ. 2209 พระที่นั่งสุทธาสวรรย์มีแผนผังอาคารจำกัดอยู่เพียงแค่รากฐานระเบียงพระที่นั่งและท้องพระโรง หลังคาของท้องพระโรงนั้นถูกมุงด้วยกระเบื้องมุงหลังคาแบบสีเหลืองจักรพรรดิอยู่จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2219 เมื่อช่างฝรั่งเศสและช่างอิตาเลียนเข้ามาปรับปรุงระบบการทดน้ำจ่ายน้ำในพระราชวัง เมืองลพบุรี ทำให้มีการขยายรากฐานพระที่นั่งออกไปทั้งด้านเหนือและด้านใต้ พระปรัศว์ซ้ายและขวาก็คงจะถูกต่อเติมขึ้นมาในคราวนี้ โดยช่างทั้งสองชาติได้ฝังแนวท่อน้ำดินเผาโดยรอบระเบียงพระที่นั่งต่อเนื่องมาจากเชิงเขามอด้านใต้เพื่อนำน้ำมาหล่อเลี้ยงอ่างน้ำทุกอ่างในพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ การขยายผังพระที่นั่งครั้งนี้คงจะได้ใช้กระเบื้องมุงหลังคาดินเผาสีเหลืองแบบท้องถิ่นมาเสริมกระเบื้องมุงหลังคาสีเหลืองจักรพรรดิส่วนที่ชำรุด และถูกนำมาอัดร่วมกับชั้นทรายใต้พื้นอาคารที่ต่อเชื่อมกัน มิใช่เป็นการเปลี่ยนกระเบื้องใหม่ทั้งหมด เหตุที่เห็นว่ามีการนำกระเบื้องดินเผาสีเหลืองแบบท้องถิ่นมาใช้มุงเครื่องบนพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ในคราวนี้ เนื่องจากภาวะการค้ากับจีนในขณะนั้นเปลี่ยนแปลงไปบ้างแล้วก็ได้ นอกจากนี้กรุงศรีอยุธยาอาจจะสามารถทำกระเบื้องเคลือบสีเหลืองได้เองแล้วในระยะนั้น (ดูสมัยพระเพทราชาและการสร้างวัดบรมพุทธาราม ในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา เล่ม 2, หน้า 72)
            หลักฐานจากแผนผังพระนารายณ์ราชนิเวศน์ เมืองลพบุรี ยืนยันให้ทราบว่ากำแพงที่คั่นระหว่างพระราชฐานชั้นที่ 3 กับพระราชฐานฝ่ายใน และตัดบางส่วนของรากฐานพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ออกไป เป็นสิ่งที่ทำขึ้นหลังสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กำแพงดังกล่าวน่าจะเป็นหลักฐานที่เชื่อมโยงกับประวัติเรือนจำลพบุรีในอดีตมากกว่าเรื่องราวประวัติศาสตร์สมัยอยุธยา น่าเสียดายที่กำแพงเรือนจำแนวนี้ถูกก่อเสริมให้สูงและก่ออิฐอุดช่องประตูกำแพงพระราชฐานฝ่ายในของเดิมสมัยพระนารายณ์จนเหลือเพียงช่องเดียวทางด้านเหนือ ทำให้บดบังความสง่างามและทำลายทัศนียภาพของพระราชฐานชั้นที่ 3 และพระราชฐานฝ่ายในลงไปโดยสิ้นเชิง เมื่อคุณค่าของกำแพงแนวนี้เป็นเพียงเครื่องล้อมที่ใช้กักกันนักโทษ จึงไม่เหมาะสมที่จะอนุรักษ์ไว้อีกต่อไป หากแต่ควรเปิดช่องกำแพงออกตามแนวผังเดิมที่ปรากฏในหลักฐานของพระยาโบราณราชธานินทร์
            แม้ด้านตะวันตกของพระที่นั่งสุทธาสวรรย์จะมีแนวกำแพงปีกท้องพระโรงขวางคั่นอยู่เดิมแล้ว แต่กำแพงดังกล่าวมิได้ปิดทึบตลอดแนว เพราะมีช่องพระทวารเปิดทางเชื่อมเอาไว้ถึงห้าช่องอย่างลงตัวรับกับลักษณะองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมของพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ การคงแนวกำแพงไว้อย่างเปล่าเปลี่ยวเช่นนี้ แม้ว่าจะยังคงเปิดให้นักท่องเที่ยวสามารถผ่านเข้าออกด้านหลังกำแพงได้ แต่มีเพียงหนุ่มสาวเดินควงคู่เข้าไปเพื่อใช้เป็นที่ลับตาเท่านั้น
            สภาพพื้นที่ลุ่มภายในเขตพระที่นั่งสุทธาสวรรย์จะเกิดน้ำท่วมขังทุกครั้งที่ฝนตกหนัก ในการบูรณะควรจะออกแบบเดินท่อระบายน้ำทิ้งขนาดใหญ่พอประมาณ เพื่อให้ระบายน้ำออกไปอย่างรวดเร็วทางด้านใต้
            การขุดแต่งในปีงบประมาณ 2540 น่าจะเป็นการศึกษาเกี่ยวกับพระที่นั่งสุทธาสวรรย์เพียงก้าวเล็กๆ ก้าวแรก อันจะจุดประกายให้เกิดความสนใจและมีความกล้าหาญต่อการฟื้นฟูรากฐานดั้งเดิมของพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ให้มีสภาพใกล้เคียง ดังปรากฏในหลักฐานที่บันทึกไว้ในแผนผังพระนารายณ์ราชนิเวศน์ เมืองลพบุรี มากยิ่งขึ้น ปรัชญาความคิดและความหวังของการทำแผนผังชิ้นนั้นก็เพื่อที่จะรักษารากฐานอาคารที่สืบทอดมาแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชให้คงอยู่ต่อไป เราจะปลุกชีวิตและคืนความเคารพต่อแผนผังที่บรรพบุรุษบันทึกไว้ได้หรือไม่ เราจะทำอย่างไรให้เกิดความสืบเนื่องทางประวัติศาสตร์ และมรดกสถาปัตยกรรม

พระที่นั่งสุทธาสวรรค์
ลักษณะของสถานที่
                     เป็นที่ประทับส่วนพระองค์ของสมเด็จพระนารายณ์ ตั้งอยู่ในเขตพระราชฐานชั้นใน บันทึกของชาวฝรั่งเศสกล่าวว่า พระที่นั่งองค์นี้ตั้งอยู่ในพระราชอุทยานที่ร่มรื่น ทรงปลูกพรรณไม้ต่างๆ ด้วยพระองค์เอง หลังคาพระที่นั่งมุงด้วยกระเบื้องเคลือบสีเหลืองที่มุมทั้งสี่ มีสระน้ำใหญ่สี่สระ เป็นที่สรงน้ำของพระเจ้าแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์ฯ และสวรรคต ณ พระที่นั่งองค์นี้ใน พ.ศ.2231 ตั้งอยู่ที่พระราชวังนารายณ์ราชนิเวศน์ อ.เมือง จ.ลพบุรี
ภายหลังเมื่อสมเด็จพระนารายณ์มหาราชสวรรคตแล้ว พระราชวังแห่งนี้ก็ถูกทิ้งร้าง สิ้นสุดลพบุรีราชธานีแห่งที่2 จนถึงสมัยสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่4แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ในปีพ.ศ.2399 พระองค์ทรงโปรดให้สร้างพระที่นั่งที่ประทับและตึกขึ้นมาใหม่ในพระราชวังเดิมของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พร้อมทั้งบูรณะซ่อมแซมพระที่นั่งจันทรพิศาลและพระราชทานชื่อพระราชวังแห่งนี้ว่า พระนารายณ์ราชนิเวศน์ สำหรับพระที่นั่งและตึกที่สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้แก่
หมู่พระที่นั่งพิมานมงกุฎ หรือหมู่พระที่นั่งใหญ่ ซึ่งใช้เป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อยู่บริเวณเดียวกับพระที่นั่งจันทรพิศาล ประกอบด้วยพระที่นั่งพิมานมงกุฎ พระที่นั่งสุทธิวินิจฉัย พระที่นั่งไชยศาสตรากร พระที่นั่งอักษรศาสตราคม ปัจจุบันหมู่พระที่นั่งพิมานมงกุฎได้จัดเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสมเด็จพระนารายณ์
หมู่ตึกประเทียบ ตั้งอยู่หลังพระที่นั่งพิมานมงกุฎ ใช้เป็นที่พักของข้าราชการฝ่ายในที่ตามเสด็จ ปัจจุบันใช้จัดแสดงศิลปวัตถุพื้นบ้านของท้องถิ่นและภูมิปัญญาท้องถิ่น
ทิมดาบหรือที่พักของทหารรักษาการณ์ เป็นศาลาโถงอยู่ข้างประตูทางเข้าเขตพระราชฐานชั้นกลางทั้ง2ข้างข้างละหลัง
นารายณ์ราชนิเวศน์

นารายราชนิเวศน์ตั้งอยู่ในตัวเมืองริมฝั่งแม่น้ำลพบุรี สันนิษฐานว่าบริเวณนี้เดิมเป็นพระราชวังของพระราเมศวร เมื่อสิ้นสมัยของพระองค์พระราชวังก็ถูทิ้งร้าง จนถึงสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช กษัตริย์องค์ที่ 27 แห่งกรุงศรีอยุธยา เกิดกรณีพิพาทระหว่างฮอลันดากับไทย ฮอลันดาได้นำเรือปืนปิดปากอ่าวไทย และบังคับให้ไทยทำสนธิสัญญาเสียเปรียบทางการค้าและสิทธิสภาพนอกอาณาเขต สมเด็จพระนารายณ์มหาราชจึงทรงดำริว่า กรุงศรีอยุธยาอยู่ริมแม่น้ำใหญ่ซึ่งไหลลงสู่ทะเลและไม่ห่างไกลจากทะเล ชาวยุโรปส่งกองทัพเรือเข้ามาถึงกรุงศรีอยุธยาได้โดยง่าย จึงโปรดเกล้าฯให้สร้างราชธานีเป็นแห่งที่ 2 ที่ลพบุรี เมื่อปี พ.ศ.2209 สำหรับการก่อสร้างพระราชวังนั้น พระองค์ได้โปรดเกล้าให้ช่างชาวฝรั่งเศสเป็นผู้ออกแบบ
พระราชวังและสิ่งก่อสร้างในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้แก่


พระที่นั่งดุสิตสวรรค์ธัญญมหาปราสาท
     ภายใน พระที่นั่งดุสิตสวรรค์ ธัญญมหาปราสาท ในปัจจุบัน



ภาพวาดราชทูตฝรั่งเศส เชอวาเลีย เดอร์ โชมองต์ เข้าเฝ้าถวายพระราชสาสน์ของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ณ พระที่นั่งดุสิตสวรรค์ธัญญมหาปราสาท
ซึ่งเป็นที่นั่งท้องพระโรงที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราชเสด็จออกรับคณะราชทูต หรือแขกเมืองต่างประเทศ
พระที่นั่งจันทรพิศาล
                              ใช้เป็นหอประชุมองคมนตรี
พระที่นั่งสุทธาสวรรค์
 เป็นที่ประทับส่วนพระองค์ และเป็นที่ที่พระนารายณ์มหาราชเสด็จสวรรคต
หมู่ตึกสิบสองท้องพระคลัง

        มีลักษณะเป็นอาคารทึบเรียงชิดติดกันเป็น 2 แถวยาว โดยมีถนนผ่ากลาง มีจำนวน 12 หลัง สันนิษฐานว่า เป็นคลังเพื่อเก็บสินค้าเก็บสิ่งของ  สมเด็จพระนารายณ์มหาราชโปรดมาประทับที่ลพบุรี เป็นระยะเวลาหลายๆเดือน พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเมืองลพบุรีจนเจริญก้าวหน้า โดยมีวิทยาการใหม่ๆ เช่น การต่อท่อประปา การทำน้ำพุ    สิ้นสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เมืองลพบุรีก็ซบเซา พระราชวังถูกทิ้งรกร้าง มีการรื้อศิลาแลงของพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ไปก่อสร้างวัดสระเกศ ราษฎรเข้าไปอยู่อาศัย ทำลายตึกสิ่งก่อสร้างเสียหาย ชำรุดทรุดโทรมในปี พ.ศ.2399 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้สร้างพระราชวังที่ลพบุรี ในบริเวณพระราชวังเดิมของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชพระที่นั่งและตึกซึ่งสร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวหมู่พระที่นั่งพิมานมงกุฎ ประกอบด้วยพระที่นั่งต่างๆ คือพระที่นั่งพิมานมงกุฎ พระที่นั่งวิสุทธิวินิจฉัย พระที่นั่งไชยศาสตรากร พระที่นั่งอักษรศาสตราคม ปัจจุบันหมู่พระที่นั่งพิมานมงกุฎ ได้จัดเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสมเด็จพระนารายณ์ หมู่ตึกพระประเทียบ ตั้งอยู่บริเวณหลังพระที่นั่งพิมานมงกุฎ ก่อด้วยอิฐถือปูนสูง 2 ชั้น เรียงรายกันอยู่ 8 หลัง ใช้เป็นที่พักของข้าราชการฝ่ายในที่ตามเสด็จ ปัจจุบันใช้จัดแสดงวัตถุพื้นบ้านและภูมิปัญญาท้องถิ่นและ เป็นที่พักของทหารรักษากาณ์ในเขตพระราชวัง







[1]  กรมศิลปากร, พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา เล่ม 2,หน้า 54 และ ปรีดา ศรีชลาลัย คำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรมเอกสารจากหอหลวง,แถลงงานประวัติศาสตร์ เอกสารโบราณคดี ปีที่ 3 เล่ม 2 พ.ศ. 2512,หน้า 33.
[2]  คำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม,อ้างแล้ว,หน้า 33